วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

Henry Purcell


         เฮนรี่ เพอร์เซลล์ ( Henry Purcell ) เป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นคีตกวีที่โดนเด่นที่สุดในยุคบาโรค  มีอายุเพียง 36 ปีก็เสียชีวิตลง แต่ได้สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงไว้มาก
        เพอร์เซลล์ สามารถแต่งเพลง “Sweet Tyrannfss, I now resign” ได้ตอนอายุ 8 ขวบ   ขณะที่กำลังเป็นเด็กในคณะนักร้องหมู่ประสานเสียงเพลงสวด ( Choirboy ) ประจำอยู่ที่ Chapel Royal  ขณะที่ทำหน้าที่เป็นนักร้องเด็กนั้นเขาได้รับค่าตอบแทนปีละ230 ปอนด์  จากความสามารถทางดนตรีและแต่งเพลงได้ตั้งแต่เยาว์ของเขานี่เอง คนรุ่นหลังได้นำมาเปรียบเทียบกับ โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท ( Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ. 1756-1791) นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของออสเตรียและของโลก ที่มีความสามารถแต่งเพลงได้ขณะที่มีอายุเพียง 5 ขวบ และมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกัน คือ อายุสั้นเพียง 36 ปี มีความเป็นอัจฉริยะ มี
ผลงานเพลงชั้นเยี่ยมออกมามากมายเหมือนกัน จึงสมญาเฮนรี่ เพอร์เซลล์ว่า “โมสาร์ทแห่งอังกฤษ” ( English Mozart )
       ค.ศ. 1669 อายุ 10 ขวบ มีตำแหน่งเป็นนักร้องเพลงสวดของ Chapel Royal ภายต้ายการควบคุมของกัปตันเฮนรี่ คุก ( Henry Cooke’s boy )
      ค.ศ. 1672 ไปเรียนวิชาดนตรีระดับสูงขึ้นอีกกับครูชื่อ เพลแฮม ฮัมฟรีย์ ( Master Pelham Humfrey ) ลูกเขยลูกเฮนรี่ คุก  ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลเด็กนักร้องทั้งหมดของ Chapel Royal อีกด้วย
      ค.ศ. 1673 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ อายุ 14 ปี เริ่มเป็นหนุ่มเข้าสู่วัยรุ่นเสียงเริ่มแตก (voice broke) ซึ่งจะทำให้เงินค่าตอบแทนลดน้อยลงกว่าเดิมมาก คือได้เพียง 30 ปอนด์ต่อปี       จึงต้องไปอยู่ในหน้าที่อื่นและได้ไปอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วย    ผู้ดูแลรักษาเครื่องดนตรีของกษัตริย์ ( assistant Keeper of the King’s instruments ) เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1673 ซึ่งมีจอห์น ฮิงสตัน ( John Hingstonประมาณ ค.ศ. 1683 ) เป็นหัวหน้า
        ปีค.ศ.1677 แมทธิว ล็อค (Mathew Locke ค.ศ. 1630-1677) นักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียงประจำวงไวโอลินของพระมหากษัตริย์ (King s Violins) ในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ชาร์ลส์ ที่2 ได้แก่กรรมลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1677 เฮนรี่ เพอร์เซลล์จึงได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งสืบแทนซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับเด็กหนุ่มวัยเพียง 18 ปี วงดนตรี King s Violins หรือ Royal Band  ที่เรียกว่า “String Orchestra” เป็นวงดนตรีที่รวมเครื่องสายในตระกลูไวโอลินไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดถึง24ชิ้น หน้าที่ของเฮนรี่ เพอร์เซลล์ ในตำแหน่ง Composer ก็คือ แต่งเพลงให้แก่วงดนตรีดังกล่าวมีทั้งเพลงที่ใช้ขับร้องประเภท airs หรือ ayres ซึ่งเป็นการที่มีพิณ (Lute)  ดีดคลอประกอบ (เนื้อร้องส่วนใหญ่ของเขาจะเป็นบทกลอนสมัยเช็กสเปียร์) และเพลงในจังหวะเต้นรำ (Dances) ให้แก่ราชสำนัก
        ค.ศ. 1679 ดร. จอห์น โบลว์ (John Blow) นักออร์แกนคนสำคัญของเวสท์มินสเตอร์ อะเบ ได้สละตำแหน่ง (Surrendered) นักออร์แกนด้วยการลาออกไปรับหน้าที่อื่น เพื่อเปิดทางให้ เฮนรี่ เพอร์เซลล์ลูกศิษย์ของเขามารับตำแหน่งสืบแทนแม้ว่าจะมีอายุยังน้อยเพียง20ปี
       ค.ศ.1680 หลังจากรับตำแหน่งนักออร์แกนของเวสท์มินสเตอร์ อะเบ ผ่านไป1 ปี เฮนรี่ เพอร์เซลล์ก็ได้เริ่มแต่งเพลงขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกด้วยเพลง “Four Part Fantasias for Strings”เป็นชุดเพลง Odes สำหรับขับร้อง (Choral pieces) หลายเพลง ซึ่งเป็นเพลงสำหรับใช้ขับร้องในพิธีต่างๆเช่น Birthday.Marriage Odes และ Welcome Songs ฯลฯ ตัวอย่างเพลงแรก คือ
 “A Song to Welcome Home His Majesty from Winsor” ซึ่งมีเนื่อร้องว่า
“His absence was autumn. His presence is spring.
That ever new life and new pleasure does bring
Then all have voices let’em cheerfully sing
And those those that have none may say: God save the King
       เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้ประพันธ์เพลงนี้ขึ้นในฐานะเป็นข้าของแผ่นดิน และเพื่อแสดงออกถึงความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ระบอบกษัตริย์ได้กลับมาอีกโดยมีการฟื้นฟูราชบัลลังก์ (Restoration ค.ศ.1660-1689) ขึ้นมาใหม่ (หลังจากว่างเว้นไปเพราะมีการยกเลิกระบอบกษัตริย์ไปชั่วระยะหนึ่งนานถึง 11 ปี ค.ศ.1649-1660) โดยได้อัญเชิญเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศอังกฤษสืบไป ทรงมีพระนสมาภิไธยว่า “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” ซึ่งทำให้อาณาประราษฎร์มีความปลื้มปิติยินดีกันทั่วแผ่นดิน มีการเฉลิมฉลองเป็นการต้อนรับในการกลับมาของพระเจ้าแผ่นดินอย่างมโหฬาร   ในปีเดียวกันนี้ เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งเพลงต่างๆออกมาอีกหลายเพลง รวมทั้งดนตรีประกอบละครเวที (Incidental Music) ให้แก่โรงละคร และละครเรื่องต่างๆหลายเรื่องเช่นดนตรีประกอบละครของวิลเลียม เช็กสเปียร์ (William Shakespeare ค.ศ.1564-1616) จอหน์ ไดรเดน (John Dryden ค.ศ.1631-1700) และวิลเลียม คองเกรฟ (William Congreve ค.ศ.1670-1729) ที่ได้เปิดการแสดงประจำในกรุงลอนดอน และได้แต่งเพลงประกอบ
ดนตรีให้ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) เรื่อง “Theodosius” หรือ “The Force of love” ได้นำออกแสดงที่โรงละครของนาธาเนียล ลี (Nathaniel Lee C. 1653-1692) นักเขียนบทละครของอังกฤษ เพลงประกอบดนตรีสำหรับละครของ เฮนรี่ เพอร์เซลล์หลายเพลงได้เป็นเพลงยอดนิยมของประชาชนอย่างกว้างขวางอยู่เป็นเวลาหลายปี
        ค.ศ.1681 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ ขณะอายุ 22 ปี ได้แต่งงานกับเจ้าสาวของเขาที่มีชื่อว่า “ฟรังเซส ปีเตอร์ส” (Frances Peters) ชีวิตในครอบครัวของเขา ก็ไม่มีใครรู้เรื่องราวอะไรกระจ่างชัดนัก รู้แต่ว่าเป็นครอบครัวที่มีความสุขพอควร และในปีเดียวกันนี้ได้แต่งเพลง ประกอบละครเรื่อง The History of King Richard II (The Sicilian Usurper)
        ค.ศ.1682 เอ็ดเวิร์ด โลว์ (Edward Lower ค.ศ.1610-1682) นักออร์แกนชั้นนำคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ของ Chapel Royal ได้ถึงแก่กรรมลงในวันที่ 11 กรกฎาคม เมื่อตำแหน่งว่างลงก็เชิญ เฮนรี่ เพอร์เซลล์ไปรับตำแหน่งสืบทอดต่อไปตามปกตินักออร์แกนประจำ Chapel Royal จะมี 3 คน แต่จะนั่งทำหน้าที่ประจำอยู่ที่ออร์แกน 1 คน ส่วนอีก 2 คน ก็ต้องมาทำงานทุกวัน ถ้าไม่ได้เข้าเวรนักออร์แกนประจำวันก้ต้องช่วยงานอื่นภายในโบสถ์ตามที่จะได้รับมอบหมาย เช่น ถ้ามีงานสำคัญๆ ที่จะต้องทำพิธีขนาดใหญ่ภายในโบสถ์ ซึ่งมีการร้องเพลงสวดเต็มพิธี“Porte in the psalmodic and Service” ใช้เวลาทำพิธีติดต่อกัน 3 วัน จึงทำงาน
ที่หนักมาสำหรับนักออร์แกนเพียงคนเดียว ดังนั้น นักออร์แกนทั้ง 3 คนจึงเป็นงานที่หนักมากสำหรับนักออร์แกนเพียงคนเดียว ดังนั้น นักออร์แกนทั้ง 3 คน จึงต้องทำหน้าที่เข้าเวรช่วยกันคนละวันไปจนกว่าจะเสร็จพิธี ในระหว่างที่ยังไม่ได้ทำหน้าที่เล่นออร์แกน มีหลายครั้ง เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้ไปทำหน้าที่เป็นนักร้องสวดในระดับสูงสุดของฝ่ายชาย (Male alto หรือ counter-tenor) ด้วยการร้องเพลงเดี่ยว (Solo)
ในเพลงสวด “With incredible graces” ที่เขาแต่งขึ้นเอง (Purcell s Ode) ในงานวัน St. Cecilia s Day และนอกจากนั้น (ในปีค.ศ.1685) เขาก็ได้ทำหน้าที่ที่เป็นนักร้องในระดับเสียงต่ำ (bass) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในงานราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์เจมส์ ที่ 2 (The Coronation of James II)
       เฮนรี่ เพอร์เซลล์มีความสามารถเป็นพิเศษในการร้องเพลงได้หลายระดับเสียง คือ ร้องได้ทั้งระดับสูงสุด (male alto) ระดับต่ำ (bassed) ระดับเสียงปานกลางระหว่างสูงกับต่ำ (baritones) ของนักร้องฝ่ายชาย และในตอนที่เขาเป็นเด็กนักร้องอยู่ที่ Chapel Royal นั้นก็เป็นที่รู้จักกัน โดยทั่วไปว่าเขาเป็นเด็กนักร้องที่มีเสียงไพเราะ แจ่มใสมากเป็นพิเศษ และมีความสามารถร้องเพลงได้หลายระดับเสียงดังกล่าว
       ค.ศ.1682 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งเพลงประกอบละครเรื่อง “The Double Marriage” และเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ส.1685
       ค.ศ.1683 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้เปิดดำเนินกิจการทางธุรกิจเพื่อจำหน่ายโน้ตเพลงต่างๆที่เขาแต่งขึ้น คือเป็นทั้งนักแต่งเพลงเองและจัดพิมพ์จำหน่ายเอง (composer and publisher) เพลงที่เขาแต่งและจัดพิมพ์ขึ้นเอง เล่มแรกเป็นเพลงประเภท “Sonata” ได้แก่ เพลง Sonatas of III Parts (สำหรับ two violins and bass with organ หรือ harpsichord) ฉบับที่เป็นปฐมฤกษ์ เขาได้เขียนคำอุทิศถวายแด่พระเจ้า
ชาร์ลส์ ที่ 2 ( Dedicated to King Charles II)
      ปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 2 เสด็จสวรรณคต เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งเพลงเพื่อเป็นการไว้อาลัย และนำออกแสดงในงานพิธีฝังพระบรมศพครั้งนี้ด้วย และในระยะเวลาใกล้เคียงกันก็มีพิธีจัดงานบรมราชาภิเษก การเสด็จขึ้นครองราชนย์ของพระเจ้าเจมส์ ที่ 2 (James 2 ค.ศ. 1685-1688 ) เขาก็ได้เพลงราชสดุดี ( Anthems ) เพื่อเป็นการสรรเสริญพระบารมีชื่อเสียง “My heart is inditing” ซึ่งเป็นเพลงที่มีความไพเราะมาก ไดนำออกแสดงในเวสท์มินสเตอร์ อะเบ อันเป็นสถานที่ที่มีพิธีบรมราชาภิเษกสวมมงกุฎให้แก่พระมหากษัตริย์ และในปีเดียวกันเขาก็ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้อำนวยการติดตั้งออร์แกนขนาดเล็กหลังหนึ่งเสริมไว้ทางด้านทิศใต้ของแท่นบูชาภายในโบสถ์
        ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1685 ไปจนถึงปี ค.ศ. 1688 ในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ ที่ 2 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้รับมอบหมายจากราชสำนักให้เป็นผู้ดูแลวงดนตรีส่วนพระองค์ ( Tha King’s private music ) อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย และในปีนี้เขาได้แต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งชื่อ Circe
         ค.ศ. 1689 นับว่าเป็นปีที่มีความสำคัญมากปีหนึ่งในชีวิตของเฮนรี่ เพอร์เซลล์ เพราะได้แต่งอุปรากร(Opera) ที่แท้จริงขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นอุปรากรขนาดสั้น  3 องค์จบ (Three Acts) เรื่อง “Dido and Aeneas”และถือว่าเป็นงาน Master Work ของเขาเลยทีเดียวและยังเป็นอุปรากรเรื่องแรกของอังกฤษอีกด้วย อุปรากรเรื่อง Dido and Aeneas เขาเขียนขั้นขณะที่อายุได้ 30 ปี ได้รับความสำเร็จอย่างสูงจึงทำให้
เขามีกำลังใจผลิตงานประเภท Incidental and the aria สำหรับแสดงบนเวที (of the atage)ที่มีลักษณะกึ่งอุปรากร (semi-opera) ออกมาอีกหลายเพลง บางเรื่องมีแสดงละครแบบสวมหน้ากาก(masque) ซึ่งมีบทขับร้องสลับกับการเจรจาไปจนจบเรื่องอื่น แต่ละเรื่องเขาได้บรรจุเพลงที่มีความไพเราะไว้หลายเพลง เรื่องอุปรากรดังกล่าวได้แก่ เรื่อง Dioclesian ซึ่งมีชื่อเต็มว่า The Prophess,or the History
of Dioclesian ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของฟรังซิส โบมอนท์ (Farncis Beaumont ค.ศ.1584-1616)และจอห์น เฟลชเซอร์ (John Fletcher ค.ศ. 1579-1625) นักแต่บทละคร(Dramatist)ที่มีชื่อเสียงซึ่งโธมัส เบตเตอตัน(Thomas Betterton) เป็นผู้เขียนบท นำออกแสดงป็นครั้งแรกที่กรุงลอนดอนในปีค.ศ.1690 เรื่อง King Arthur ,or the British Worthy เป็นละครกึ่งอุปรากร5 องก์จบ จากบท]ะคร(libretto)ของจอห์น ไดรเดน(John Dryden ค.ศ.1631-1700) นำแสดงออกเป็นครั้งแรกที่กรุงลอนดอนในปี ค.ศ.1691 เรื่อง The Fairy Queen ดัดแลงจากบทละครเรื่อง A Midsummer Night’ Dream ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่โรงละครดอร์เสท การ์เดน กรุงลอนดอน ค.ศ.1692
       ค.ศ.1690-1691 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งเพลง Incidental Music สำหรับละครเวทีมีอีกหลายเพลง คือ Amphitryon, or The Two Sosaris, Distressed Innocance , or The Princess of Persia , The Massacre of Paris; Sir Anthony Love , or The Rambling Lady
       ค.ศ.1692 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ไดแต่งเพลงอาศิรวาทราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระราชินีแมรี่ ที่2(Queen mary II) เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา นอกจากนี้ยังได้แต่เพลง Odes Hail, bright Cecilila Day และได้ขับร้องด้วยตนเองในการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองและอำนวยพรเนื่องในวันงานที่ระลึกประจำปีของ St. Cecilila Day ซึ่งเป็นเพลง Odes ชิ้นสุดท้ายที่เขาแต่งให้กับงานนี้ และเป็นเพลง Odes
ที่มีชือ่เสียงมากที่สุดเพลงหนึ่ง เมื่อนำเพลงนี้ออกแสดงได้รับการบกย่องชมเชยจากผู้ฟังว่าเป็นเพลงที่มีความไพเราะ แจ่มใส จับใจมากทีเดียวและในปีเดียวกันนี้ได้แต่งเพลง Incidental Music สำหรับละครเวทีขึ้นมาอีกหงายเพลง คือ Aureng-Zebe;Cleomenes,the Spartan Hero;  Henry II , King of England; The Marriage-Hater Matched
       ค.ศ.1694 เฮนรี่ เพอร์เซลล์แต่งเพลงเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่และมื่อเสียงมาก คือเพลง The te Deum and Jubilate in D  เพื่อนำออกแสดงในงานวันที่ระลึก St.Cecillia’s Day   นอกจากจะแต่งเพลงประเภทต่างๆไว้มากมายแล้ว เฮนรี่ เพอร์เซลล์ยังเขียนหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีอีกด้วย หนังสือที่มีชื่อเสียงที่นักดนตรีทั้งหลายได้ยึดถือความเป็นตำรามาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบัน คือหนังสือ Incidental
to the skill of Music ซึ่งสำนักพิมพ์ PlayFord ได้จัดพิมพ์จำหน่ายมาหงายครั้ง จนครั้งสุดท้ายเขาได้นำหนังสือดังกล่าวมาปรับปปรุง แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ทันสมัยอยู่เสมอ  ส่วนเพลงประเภท Incidental Music ที่เขาโปรดปรานมากก็ยังผลิตออกมาเรื่อย ๆ อย่างไม่ขาดสาย และในปี ค.ศ.1694 ก็มีหลายเพลงเช่น The Centerbury Guests,or A Bargain Broken;The Comical History ,or Good Luck at Last เป็นต้น
       ตอนใกล้สิ้นปี ค.ศ.1694 พระราชินีแมรี่ที่ 2 ทรงพระประชวนด้วยโรคไข้ทรพิษและประทับรักษาพระองค์ที่พระราชวังเคนซิงตัน จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1694 ขณะที่พระชนมายุ 32 ชันษา มีพิธีถวามบังคมพระบรมศพอยู่ 4-5 วัน จากนั้นมีการทำพิธีฝังพระบรมศพ ที่เวสท์มินสเตอร์ อะเบ ในสัปดาห์แรกของปีใหม่ เดือนมกราคม ค.ศ.1695 สำหรับพิธีฝังพระบรมศพมีความสำคัญยิ่งในครั้งนี้
เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งเพลง Anthem ขนาดยังไม่ยาวนักขึ้นเพลงหนึ่ง เพื่อถวายความเคารพและไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการร้อง เพลงที่เขาแต่งขึ้นเองชื่อ Thou Knowest , Lord ,the Scecrets of our Heart So Heavenly in Operation that it drew tears fome us all โดยมีเครื่องดนตรี แตรทรมโบน 4 ตัว บรรเลงคลอเสียงเบาๆ พร้อมกับการอ่านบทร้อยกรองด้วยทำนองเสนาะ จากบทกวี
คำฉันท์ 2 บท พรรณาเป็นการไว้อาลัยด้วยความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง ทำให้บรรยากาศในบริเวณนั้นเต็มไปด้วยความหดหู่ วังเวง  ทำให้บรรดาผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพเกิดความเศร้าสลดสะเทือนใจสุดที่จะกลั้นน้ำตาไว้ได้
        นอกจากนี้เพลง Incidental Music ที่เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่งขึ้นในปี ค.ศ.1695 อีกหลายเพลง และนับเป็นชุดสุดท้ายในชีวิตของเขา เช่น Abdelazer,or the Moor’svRevenge; Bonducaor The British Heroine;The Mock Marriage;OroonnoKo,or the Violence of Love และยังมีเพลงชั้นเยี่ยมๆที่มีความไพเราะที่เขาเคยแต่งอีกหลายเพลง ที่เฮนรี่ เพอร์เซลล์ได้แต่ขึ้นในช่วงเวลาก่อนการมรณกรรมของเขาไม่นานนัก ได้แก่เพลง Arise,Ye Subterranean แต่งขึ้นเพื่อประกอบละครเวทีกึ่งอุปรากรเรื่อง The Tempest หรือ The Enchantted Is land พร้อมกับเขียนบทสนทนาด้วยตนเอง
         ราวกลางดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1695 เฮนรี่ เพอร์เซลล์ก็ล้มป่วยลงอย่างกระทันหันทำให้การแต่งเพลงของเขาหยุดชะงักลงทันที เช่นเพลงละครเวทีกึ่งอุปรากร เรื่อง The Indian Queen ที่เขายังแต่งไม่เสร็จ แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วไม่นาน แดเนียล เพอร์เซลล์  ก็นำไปแต่ต่ออย่างเสร็จสมบูรณ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น