ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี
การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบรา ณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย& ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ; ;nbs p; บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขค วามสบาย
โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย ์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั ้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ&am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;nb sp; เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตั วเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันน ี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปในอดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพส ังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสม ัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตาม แนวคิดของผู้ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกัน จนถึง ปัจจุบันนี้
การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในกา รได้ศึกษา เรียนรู้ และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้ว ยังเป็นการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นแล ะการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบัน และเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคต ด้วย (ทีมา : http://blog.krudontree.info/?p=143)
ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักการสร้างเสียงดนตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การตีเกราะ เคาะไม้ การเป่าเขาสัตว์ การเป่าใบไม้ เพื่อส่งสัญญาณต่างๆ มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลง เพื่อให้หายเครียด เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการประกอบพิธีกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเสียงดนตรี มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้สนใจดนตรีในด้านศิลปะ ดนตรีจึงได้วิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ
ยุคสมัยดนตรีตะวันตก
***ยุคสมัยต่าง ๆ เป็นตัวแบ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลก โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยอารยธรรมโบราณ สมัยต้นและกลางคริสต์ศตวรรษ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิค สมัยโรแมนติค และสมัยปัจจุบัน การดนตรีในยุคต่าง ๆ ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามาจากยุคใดและมีบทบ าทอย่างไร ดังที่ ละเอียด เหราปัตย์ (2522: 1) กล่าวว่า ดนตรีในสมัยดึกดำบรรพ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษ ย์มากกว่าในสมัยปัจจุบัน เป็นการแสดงออกถึงจิตวิทยา สังคม ศาสนา สิ่งสักการะบูชา และภาษา เพลงทุกเพลงในสมัยดั้งเดิมจะต้องมีความหมายทั้งสิ้น การจะเข้าใจในเพลงนั้น ๆ อย่างถูกต้องแท้จริงจะต้องไปศึกษาจากชาวพื้นเมืองที่เป็นเจ้าขอ งบทเพลงนั้น ดนตรีสมัยดึกดำบรรพ์มีหน้าที่ 2 ประการสำคัญ คือ
(1) ก่อให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ
(2) ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความสุข
ต่อมาในอารยธรรมโบราณ (Ancient Civilization) ความเจริญของโลกมีอยู่ในภูมิภาคตะวันออก ชาติที่มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น จีน ไทย อินเดีย ฯลฯ และภูมิภาคยุโรปตะวันออก เช่น อียิปต์ ซุเมอร์ บาบิโลเนียน จูเดีย และกรีก ดนตรีทั้งในเอเซีย และยุโรปตะวันออก ได้เริ่มมีวิวัฒนการขึ้น โดยมีการคิดค้นบันไดเสียงเพื่อแบ่งแยก จัดระบบเสียงเป็นของแต่ละชนชาติขึ้นมา เอกลักษณ์นี้ยังคงมีร่องรอยอยู่ในยุคปัจจุบัน เช่น บันไดเสียงเพนทาโทนิค (Pentatonic Scale) ก็ยังคงมีใช้กันในดนตรีภูมิภาคเอเซีย แต่มีความแตกต่างไปในสำเนียงและการจัดระบบเสียง ดนตรีกรีกโบราณ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีของดนตรีตะวันตกที่ยิ่งใหญ่ คือ เมื่อประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตกาล มีการคิดค้นการแบ่งระบบเสียงอย่างชัดเจนด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสต ร์ โดยนักปราชญ์กรีก คือ พิธากอรัส และมีการคิดเรื่องเครื่องดนตรีประกอบการร้อง มีการใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงโดยใช้ Mode ซึ่งมีที่มาจากระบบเตตร้าคอร์ด (Tetrachord) ก่อให้เกิดบันไดเสียงโบราณต่างๆ เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดนตรีในยุคต่อ ๆ มา
Percy A scholes (อ้างถึงใน นพพร ด่านสกุล,2541:10) ได้กล่าวถึงการก่อเกิดบันไดเสียงในดนตรีตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ สรุปความว่า ในราวประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ได้ค้นพบวิธีคิดการใช้มาตรวัดเชิงคณิตศาสตร์กับดนตรีได้เป็นคนแ รก โดยใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์การทดลอง ซึ่งทำให้เขาพบว่าเสียงที่เกิดจากการดีดเส้นลวดจะทีการเปลี่ยนแ ปลงดังนี้ เมื่อแบ่งครึ่งเส้นลวดระดับเสียงจะสูงขึ้นกว่าเดิม 1 ชุดระดับเสียง (Octave) ถือว่าเป็นความสำคัญระดับแรก เมื่อแบ่งเส้นเส้นลวดเป็น 3 ส่วนแล้ว 2 ใน 3 ส่วนของเส้นลวดจะมีระดับเสียงสูงขึ้นเป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟ็ค ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความสำคัญระดับรองลงมา และหากว่าแบ่งเส้นลวดออกเป็น 4 ส่วน 3 ใน 4 ส่วนดังกล่าวจะมีระดับเสียงสูงขึ้นจากพื้นเสียงเดิมเป็นขั้นคู่ 4 เพอร์เฟ็ค กรณีนี้ถือเป็นความสำคัญอันดับ 3 จากนั้น Pythagoras ยังนำเสนอไว้ว่าใน 1 ชุดระดับเสียง ประกอบด้วย กลุ่มเสียง 4 ระดับ (Tetrachord) 2 ชุดเชื่อมต่อกัน กลุ่มเสียง 4 ระดับตามแนวคิดของ Pythagoras มี 3 รูปแบบดังที่แสดงต่อไปนี้
1. semitone – tone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบดอเรียน (Dorian Tetrachord)
2. tone – semitone – tone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบฟรีเจียน (Phrygian Tetrachord)
3. tone – tone – semitone เรียกว่ากลุ่มเสียง 4 ระดับแบบลีเดียน (Lydian Tetrachord)
ความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เราทราบว่า พิธากอรัส ได้ใช้ระเบียบวิธีคิดอย่างสูงเกี่ยวกับการแบ่งระบบของเสียงดนตร ี และจากการคิด Tetrachord ชนิดหลักๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเรียงต่อ Tetrachord เข้าด้วยกัน 2 ชุดจะก่อให้เกิดบันไดเสียงต่างๆ ซึ่งบันไดเสียงที่ที่คิดขึ้นได้เรียกว่า บันไดเสียงแบบพิธากอรัส (Pythagorian Scale) และเมื่อมีการขยายความรู้ไปใช้ในการขับร้องหรือเล่นเครื่องดนตร ี ก็จะทำให้เกิดความนิยมเฉพาะกลุ่มจนเป็นชื่อเรียกบันไดเสียงขึ้นมาเฉพาะเช่นบันไดเสียงไอโอเนียน (Ionian) ก็มาจากกลุ่มชนไอโอเนียนที่อยู่แถบริมทะเล บันไดเสียงไอโอเนียนเป็นที่คุ้นกันดีว่าเป็นบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) ในยุคปัจจุบันนั่นเอง อย่างไรก็ดีในเรื่องของโหมด (Mode) หรือบันไดเสียงโบราณนี้ได้รับแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรีกของจริงอย ู่ แต่เมื่อถึงยุคกลางแล้วชื่อและลักษณะของระบบไม่ตรงกับระบบของกร ีกเลย ดังเช่น ดอเรียนโหมดของกรีก คือ โน้ต E- E (เทียบจากคีย์บอร์ดแป้นสีขาวทั้งสิ้น) แต่ดอเรียนโหมดของยุคกลาง คือ โน้ต D- D ซึ่งวิวัฒนาการเหล่านี้เป็นผลมาจากความนิยมในการใช้ทั้งสิ้น ตัวอย่างต่อไปนี้มาจากหนังสือ The Music of Early Greece โดย Beatric Perham (1937:24) ได้แสดงบันไดเสียงกรีกโบราณทั้ง 3 ประเภทดังนี้
Dorian = E D CB, A G FE
Phrygian = D CB A G FE D
Lydian = CB A G FE D C
**หมายเหตุ การไล่บันไดเสียงดังกล่าวเป็นตามนิยมของกรีกคือ การไล่ลง (Descending Scale) และโน้ตที่ชิดกันคือระยะครึ่งเสียง
(semitone) โน้ตที่ห่างกัน คือ ระยะเต็มเสียง (tone) ***(ที่มา :http://mecbangna.igetweb.com/?mo=3&art=443759)
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าโครงสร้างทางดนตรีตะวันตกได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีของชนชาต ิกรีกซึ่งเป็นชนชาติโบราณที่มีอารยธรรมสูงส่งกรีกได้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไว้มากมาย ทั้งในด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะดนตรี เมื่อกรีกกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน วัฒนธรรมด้านดนตรี ทั้งหมดจึงถูกถ่ายทอดไปสู่โรมัน เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย วัฒนธรรมดนตรีที่โรมันรับมาจากกรีก ได้แพร่กระจายไปสู่ชนชาติต่างๆ ทั่วภาคพื้นยุโรปครั้นเมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้นดนตรีก็ยิ่งมีบทบาทควบคู่เป็นเงาตามตัวไปด้วยยุคสมัยประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกแบ่งออกเป็นช่วงระยะเวลา แต่ละช่วงระยะเวลาหรือแต่ละสมัย มีลักษณะผลงานทางดนตรีที่แตกต่างกันออกไป ประวัติศาสตร์ดนตรีเริ่มตั้งแต่สมัยกลาง สมัยเรเนสซองส์ สมัยบาโรค สมัยคลาสสิก สมัยโรแมนติก สมัยอิมเพรสชั่นนิสติค และสมัยศตวรรษที่ 20
1. ยุคกลาง (Middle Ages )
เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 – 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมืองวิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริสต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมันโบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้งและมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนาไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนองหรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ
ภาพประกอบ จากหนังสือประจำชั่วโมงแห่งอองเชส์จากคริสต์ทศวรรษ 1470
เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ผลงานการรวบรวมบทสวดของสันตะปาปาเกรกอรี ถูกเรียกว่า เกรกอรีชานท์ (Gregory Chant)หรือบทสวดของเกรกอรี ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงรองที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)
ตัวอย่างโน้ตเพลงโบราณ
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไ ป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่า โพลีโฟนี (Polyphony)
ตัวอย่างโน้ตเพลง 2 แนว
ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยุ่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
ภาพประกอบการเล่นดนตรีของนักดนตรีเรร่อนปลายยุคกลาง
2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)
สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เริ่มประมาณ ค.ศ. 1400 – 1600 เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุกแนวเสียงมีความสำคัญแบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไปพร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ เพลงในสมัยนี้ ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอน คือ ยังไม่มีการแบ่งห้องออกเป็น 3/4 หรือ 4/4 เพลงส่วนใหญ่ก็ยังเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบขั้นต อนต่างๆ ของพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือ เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet) คำร้องเป็นภาษาละติน เพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนาก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรัก หรือยกย่องบุคคลสำคัญ และมักจะมีจังหวะสนุกสนาน นอกจากนี้ยังใช้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติ
พลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง – เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)
ภาพที่ 2.1 ภาพการเล่นดนตรียุคเรเนสซองส์
ภาพ The Birth of Venus
คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้
หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตล อดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตล อดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)
1. สมัยศตวรรษที่ 15
ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)
ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำ หลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิก เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลัก ษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมันแต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งข องเพลงในสมัยนี้การแต่งเพลงแมสและโมเต็ตนำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อน
มีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอ รมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น
ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน
สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์
– เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์
– เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น
3. ยุคบาโรก (The Baroque Period)
คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว
คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว
ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี
บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที ่ 18
ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและห ันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยท ีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)
ดนตรีในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 – 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ทวีปยุโรปกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบร รเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 – 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 – 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 – 1643)
นักประพันธ์เ พลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 – 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 – 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music
ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตัดกัน”
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล ่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล ่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง
ใ นสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะกา รบันทึกตัวโน้ตที่
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแห น่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสั ญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแห น่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสั ญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้
1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก เรียกว่า Figured bass
3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major)และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี (Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้
2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก เรียกว่า Figured bass
3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major)และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี (Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้
4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period)
เริ่มประมาณ ค.ศ. 1750 – 1820 สมัยนี้ดนตรีได้เริ่มออกมาแพร่หลายถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น สถาบันศาสนามิได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ดนตรีในยุคนี้ถือว่าเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) เพลงต่างๆ นิยมแต่งขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ มิใช่เพื่อประกอบพิธีศาสนาหรือพิธีอื่นๆ เป็นระยะเวลาแห่งดนตรีเพื่อดนตรี เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงบรรเลง เพื่อฟังความไพเราะของเสียงดนตรีอย่างแท้จริง เป็นลักษณะดนตรีที่ต้องใช้แสดงความสามารถในการบรรเลงมากขึ้น การประสานทำนองแบบโพลีโฟนีใช้น้อยลงไป การประสานทำนองแบบโฮโมโฟนีถูกนำมาใช้มากขึ้น มีการนำกฎเกณฑ์มาใช้ในการแต่งเพลงอย่างเคร่งครัด รวมทั้งนำเอาองค์ประกอบของดนตรีมาใช้อย่างครบถ้วน มีการกำหนดอัตราจังหวะ กำหนดให้จำนวนจังหวะสม่ำเสมอเท่ากันทุกห้อง การเขียนเพลงในยุคนี้สนใจความแตกต่าง (Contrast) การใช้จังหวะ มีทั้งจังหวะช้า และเร็ว สลับกันไปตามจำนวนของท่อนเพลงการเขียนทำนองเพลง มีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และมีความสมดุล เช่น ทำนองประโยคหนึ่งจะแบ่งเป็น 2 วรรค คือ วรรคถาม และวรรคตอบ ให้มีความยาวเท่าๆ กัน ด้านเสียงประสานนั้นก็ได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีก นำการเปลี่ยนบันไดเสียงในระหว่างบทเพลงมาใช้แล้วจึงกลับมาหาบัน ไดเสียงเดิมในตอนจบเพลง ในด้านน้ำเสียงนั้นยุคนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การจัดวงออร์เคสตรา ใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท ได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีใหม่ๆ ที่ได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันหลายเครื่องที่สำคัญที่สุด คือ เปียโน (Piano)
เพลงที่นิยมแต่งก็พัฒนามาจากสมัยบาโรค แต่ได้มีการปรับปรุงให้ยิ่งใหญ่ขึ้น รวมทั้งเพลงประเภทอุปรากร โอราทอริโอ คอนแชร์โต โซนาตา และเพลงซิมโฟนี ซึ่งต่อมานิยมแต่งมากที่สุด คือเพลงซิมโฟนี
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวใ นเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมา กก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย
ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค.ศ. 1814
สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)
สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)
หลังการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูป
แบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780
เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early
classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย
คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน
วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้
แบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780
เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early
classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย
คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน
วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้
ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได ้ชัด คือ การไม่นิยม
การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น
(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น
(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรง เรียนแมนฮีมจัดตั้ง
ขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim
orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration)
ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
ขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim
orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration)
และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive (เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน
ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง – ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว-ช้า-เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว
(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ )ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )
สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในท ุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ
ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไ ป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของ
ผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง – ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง
ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไ ป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของ
ผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง – ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง
ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่ง
เครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน
(JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ
Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแ ผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย
เครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน
(JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ
Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแ ผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย
ความหมายของคำว่า “คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)
คำว่า “คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่ง ที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลา ยของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติ
ทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศต วรรษที่ 20
พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนป ลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็ นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้น
ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยคลาสสิก
โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเป ร่าและฟอร์มอื่น ๆ
สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105)
1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟ อร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและ รัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพล ี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและ รัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพล ี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ
4. ในด้านการประสานเสียง (Harmony) นั้น การประสานเสียงของดนตรีสมัยนี้ซับซ้อน
น้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV)มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียงแบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียงแบบโครมาติค (Chromatic harmony)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อน
พัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่ว ๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้
6. การใช้ความดัง – เบา (Dynamics) ได้มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี ดังเห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลาย ๆ คน ซึ่งความดัง – เบานั้นมีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อย ๆ ลดลงจนเบาเรียกว่าดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)
น้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV)มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียงแบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียงแบบโครมาติค (Chromatic harmony)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อน
พัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่ว ๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้
6. การใช้ความดัง – เบา (Dynamics) ได้มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี ดังเห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลาย ๆ คน ซึ่งความดัง – เบานั้นมีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อย ๆ ลดลงจนเบาเรียกว่าดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)
นักดนตรีในยุคนี้ได้แก่
1. โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn ค.ศ. 1732 – 1828) ผู้นี้ได้วางรากฐานทางด้านเพลงซิมโฟนีไว้มากและแต่งเพลงซิมโฟนี ไว้ถึง 104 เพลง จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี” และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ. 1756 – 1791) ได้รับการยกย่องมากอีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้มากและแต่ละเพลงล้วนมีความไพเราะมาก
3. เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven ค.ศ. 1770 – 1827) มีผลงานต่างๆ ที่น่าประทับใจมากมาย
5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period)
ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)
นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้
– คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
– ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ
สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศต วรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังใ นสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง
ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2535:111)
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่ เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ
ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง
ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1820 – 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรี ดนตรีมิได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้นำทางศาสนาหรือการปกครอง ได้มีการแสดงดนตรี (Concert) สำหรับสาธารณชนอย่างแพร่หลาย นักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเองได้เต็มที ่ และต้องการสร้างสไตล์การเขียนเพลงของตนเองด้วย ทำให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกันอย่างมาก ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด ดนตรีในยุคนี้จึงไม่คำนึงถึงรูปแบบ และความสมดุล แต่จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ เช่น คอร์ด 7,9 หรือ 11 นอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้ว คีตกวียังชอบเขียนเพลงบรรยายธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝัน ของตนเอง โดยพยายามทำเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังบ รรยายมากที่สุด เพลงที่มีแนวเรื่องหรือทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นแนวการเขียนนี้เรีย กว่า ดนตรีพรรณนา (Descriptive Music) หรือ โปรแกรมมิวสิค (Program Music) สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)
ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วย (Nationalism) คือ คีตกวีจะแสดงออกโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่ งขึ้น หรือแต่งให้มีสำเนียงของชาติตนเองมากที่สุด โดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน รักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่อาศ ัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส (Jean Sibelius) แต่งเพลง ฟินแลนเดีย (Finlandia) โชแปง (Frederic Chopin) แต่งเพลง มาซูกา (Mazurka) และโพโลเนียส (Polonaise) นอกจากนี้ยังมีคีตกวีชาติอื่นๆ อีกมาก
คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่
1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 – 1957)
2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 – 1886)
3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 – 1847)
4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 – 1849)
5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 – 1856)
6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 – 1883)
7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 – 1897)
8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 – 1893)
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)
ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890 – 1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของยุคโรแมนติกนี้ มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบูสซี ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส โดยการใช้ลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม (Whole-tone Scale) ทำให้เกิดลักษณะของเพลงอีกแบหนึ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองทำให้เพลงในยุค นี้มีลักษณะ ลึกลับ ไม่กระจ่างชัด เพราะคอร์ดที่ใช้จะเป็นลักษณะของอ๊อกเมนเต็ด (Augmented) มีการใช้คอร์ดคู่ 6 ขนาน ลักษณะของความรู้สึกที่ได้จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความ รู้สึก “คล้ายๆ ว่าจะเป็น” หรือ “คล้ายๆ ว่าจะเหมือน” มากว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ซึ่งเป็นความประสงค์ของการประพันธ์เพลงประเภทนี้ ชื่ออิมเพรสชั่นนิสติค หรือ อิมเพรสชั่นนิซึมนั้น เป็นชื่อยุคของศิลปะการวาดภาพที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี Monet,Manet และ Renoir เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพที่ประกอบด้วยการแต้มแต่งสีเป็นจุดๆ มิใช่เป็นการระบายสีทั่วๆ ไป แต่ผลที่ได้ก็เป็นรูปลักษณะของคนหรือภาพวิวได้ ทางดนตรีได้นำชื่อนี้มาใช้ ผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้นอกไปจากเดอบูสซีแล้วยังมี ราเวล ดูคาส เดลิอุส สตราวินสกี และโชนเบิร์ก (ผลงานระยะแรก) เป็นต้น
ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่ จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไป
กลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง (ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)
นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ
และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เ พลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด
ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ
“คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)
และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เ พลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด
ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ
“คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)
1. โคล้ด-อะชิล เดอบูซี (Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองซังต์-แจร์มัง-อ็อง-เลย์ และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918)
เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…“สำหรับดน ตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ มาบังคับให้ดนตรีต้องจำลองธรรมชาติออกมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ดนตรีนี้แหละจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับจินตนาการที่ เร้นลับมหัศจรรย์บางอย่างออกมาเอง”
2. มอริส ราเวล (Maurice Ravel,1875-1937)
เกิดวันที่ 7 มีนาคม 1875 ที่ Ciboure ใกล้กับ St.Jean de Luz ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเกือบติดเขตแดนสเปญ เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรียน การประสานเสียงอายุ11 ขวบและเข้าศึกษาในสถาบันดนตรีแห่งปารีส (Paris Conservatory) อายุ 14 ขวบเป็นเพื่อนกับเดอบุสซี ราเวลมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเดอบุสซีอยู่บ่อย ๆ แต่อันที่จริงแล้วดนตรีของทั้งสองต่างกันมากในสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” ถึงแม้ว่าราเวลจะถูกจัดว่าเป็นคีตกวีในสมัยอิมเพรสชั่นคนหนึ่ง แต่ดนตรีของเขามีสีสันไปทางคลาสสิกมากกว่าอย่างไรก็ตามราเวลก็ม ีชีวิตอยู่ระหว่างปลายสมัยดนตรีอิมเพรสชั่นกำลังเติบโตเต็มที่ค นหนึ่ง
เกิดวันที่ 7 มีนาคม 1875 ที่ Ciboure ใกล้กับ St.Jean de Luz ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเกือบติดเขตแดนสเปญ เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรียน การประสานเสียงอายุ11 ขวบและเข้าศึกษาในสถาบันดนตรีแห่งปารีส (Paris Conservatory) อายุ 14 ขวบเป็นเพื่อนกับเดอบุสซี ราเวลมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเดอบุสซีอยู่บ่อย ๆ แต่อันที่จริงแล้วดนตรีของทั้งสองต่างกันมากในสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” ถึงแม้ว่าราเวลจะถูกจัดว่าเป็นคีตกวีในสมัยอิมเพรสชั่นคนหนึ่ง แต่ดนตรีของเขามีสีสันไปทางคลาสสิกมากกว่าอย่างไรก็ตามราเวลก็ม ีชีวิตอยู่ระหว่างปลายสมัยดนตรีอิมเพรสชั่นกำลังเติบโตเต็มที่ค นหนึ่ง
ชีวิตส่วนตัวของราเวลเขาไม่เคยแต่งงานเลยทั้ง ๆ ที่พบปะคุ้นเคยกับสตรีมากมายเช่นเดียวกับเกิร์ชวินซึ่งก็ไม่ได้ แต่งงานเหมือนกัน ราเวลเป็นคนร่างเล็ก แต่งตัวดีอย่างไม่มีที่ติแต่ชีวิตของเขาไม่ฟู่ฟ่า มีนิสัยชอบสันโดษอย่างมาก สำหรับเขา “ความสำเร็จ” กับ “อาชีพ” ดูเหมือนว่าจะคนละอย่างกัน ยิ่งประชาชนเพิ่มความนิยมชมชอบเขามากเท่าไรแต่เขากลับทำตัวธรรม ดามากขึ้น เขาสร้างดนตรีเพราะต้องทำ ไม่เคยสร้างดนตรีเพราะต้องการความก้าวหน้าหรือเพื่อหาเงิน ไม่มีความเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยไม่ต้องการแม้แต่จะหาลูกศิ ษย์สอนเพื่อจะได้เงิน เขามีรายได้จากงานประพันธ์และการแสดงดนตรีแค่พอมีชีวิตอยู่อย่า งสบาย ๆ พอประมาณเท่านั้นลักษณะเด่นของราเวล คือ การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา
ผลงานที่มีชื่อเสียง
– Pavane for a Dead Princess 1899 ดนตรีหวานซึ้งราบเรียบนุ่มนวลชวนฟังให้จิตใจสงบ
– String Quartet 1903, Introduction and Allegro 1905
– Daphnis et Chloe : Suite No. 2 1909-12,
– The Waltz 1920,
– Bolero 1928 ทำนองแบบสเปนดนตรีเริ่มจากเบาที่สุด แต่ละท่อนไม่ยาวเกินไป ใช้สีสันของเสียงจากการเปลี่ยนเครื่องดนตรี ให้ความรู้สึกค่อนข้างเย้ายวนและร้อนแรงในช่วงท้าย
– Pavane for a Dead Princess 1899 ดนตรีหวานซึ้งราบเรียบนุ่มนวลชวนฟังให้จิตใจสงบ
– String Quartet 1903, Introduction and Allegro 1905
– Daphnis et Chloe : Suite No. 2 1909-12,
– The Waltz 1920,
– Bolero 1928 ทำนองแบบสเปนดนตรีเริ่มจากเบาที่สุด แต่ละท่อนไม่ยาวเกินไป ใช้สีสันของเสียงจากการเปลี่ยนเครื่องดนตรี ให้ความรู้สึกค่อนข้างเย้ายวนและร้อนแรงในช่วงท้าย
7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)
เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก
หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจาก แนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดน ตรีในสมัยศตวรรษที่ 20
ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีกา รใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบ รรเลง
ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมา ตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบ บแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรั บ
ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิ ค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตร ีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
1. อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg,1874-1951)
เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1874 ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบตามแนวความคิดในช่วงปลายส มัยโรแมนติก โดยเริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินตามรอยของวากเนอร์ (Wagner) สเตราส์ (R.Strauss) มาห์เลอร์ (Mahler) และบราห์มส์ (Brahms) โชนเบิร์กได้ศึกษาดนตรีกับครูอย่างจริงจังเพียงเครื่องไวโอลินเ ท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เขาใช้เวลาว่างในการฝึกหัดเล่นเอาเองทั้งนั้น ไม่ได้เรียนจากใครเลย แต่เขาก็สามารถเล่นได้ดีทุกอย่าง
สไตล์การแต่งเพลงของโชนเบิร์กเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขาได้ริ เริ่มคิดการแต่งเพลงโดยใช้แนวคิดใหม่คือใช้ระบบทเว็ลฟ-โทน (Twelve Tone System) คือ การนำเสียงสูง – ต่ำทั้งหมด 12 เสียง มาเรียงกันเป็นลำดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) ซึ่งหลักสำคัญคือ ทฤษฏีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียง และความสำคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุกเสียง
ในดนตรี (The Freedom of Musical Sound : The Atonality) อันเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของดนตรี “เซียเรียล มิวสิก” (Serial Music) ซึ่งพัฒนาความคิดรวบยอดของมนุษย์ในปรัชญาดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ให้ก้าวไกลควบคู่ไปกับวิทยาการสมัยใหม่
โชนเบิร์กใช้ “ระบบทเว็ลฟ – โทน” ในผลงานหมายเลขสุดท้ายของ Five Pieces for Piano ในปี 1923 และในท่อนที่ 4 ของ Serenade ในปีเดียวกัน ผลงานการประพันธ์ชิ้นแรกของโชนเบิร์กที่สร้างขึ้นด้วย “ระบบทเว็ลฟ – โทน” โดยตลอดคือ Suite for Piano ในปี 1924 ระบบ “ระบบทเว็ลฟโทน” กลายเป็นเครื่องมือ
การทำงานของโชนเบิร์กที่เขาใช้ด้วยความชำนาญอย่างน่าพิศวงและไม ่ซ้ำซากจำเจ นอกจากประสบความสำเร็จในด้านการต้อนรับของผู้ฟัง
แล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์การนำไปสู่แนวคิดความเข้าใจเรื่องดนต รีซึ่งแตกต่างไปจากเดิมที่ยึดถือกันมากว่า 300 ปี
นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้วโชนเบิร์กยังมีผลงานเขียนด้วย ได้แก่ “ทฤษฎีแห่งเสียงประสาน” (Harmonielehre) ในปี 1911 ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (Theory of Harmony) ในปี 1947 และยังเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์ดนตรีในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หลาย ๆ แห่งถือว่ามีคุณค่าต่อวงการดนตรีต่อ ๆ มา
ในบั้นปลายชีวิตของโชนเบิร์กเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันและใช้ช ีวิตอย่างเรียบง่ายจนถึงแก่กรรมในปี 1951 ขณะอายุได้ 77 ปี (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 260)
2. เบลา บาร์ตอค (Bela Bartok, 1881-1945)
เกิดวันที่ 25 มีนาคม 1881 ตำบล Nagyszentmiklos ประเทศ ฮังการี บิดาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกสิกรรมประจำตำบล มารดา เป็นครู ทั้งพ่อและแม่มีความสามารถทางด้านดนตรี แต่บาร์ตอคไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนจากพ่อเนื่องจากพ่อถึงแก่กรร มเมื่อบาร์ตอคอายุได้ 8 ขวบ
เพลงที่บาร์ตอคประพันธ์ขึ้นมีแนวการประพันธ์เพลงสมัยใหม่โดยใช้ เพลงพื้นเมืองของฮังการีและรูมาเนียเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขามีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วนานาชาติว่า เป็นผู้รอบรู้ใน ดนตรีพื้นเมืองอย่างดียิ่ง
เกิดวันที่ 25 มีนาคม 1881 ตำบล Nagyszentmiklos ประเทศ ฮังการี บิดาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกสิกรรมประจำตำบล มารดา เป็นครู ทั้งพ่อและแม่มีความสามารถทางด้านดนตรี แต่บาร์ตอคไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนจากพ่อเนื่องจากพ่อถึงแก่กรร มเมื่อบาร์ตอคอายุได้ 8 ขวบ
เพลงที่บาร์ตอคประพันธ์ขึ้นมีแนวการประพันธ์เพลงสมัยใหม่โดยใช้ เพลงพื้นเมืองของฮังการีและรูมาเนียเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขามีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วนานาชาติว่า เป็นผู้รอบรู้ใน ดนตรีพื้นเมืองอย่างดียิ่ง
บาร์ตอคเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีหลักการประพันธ์เพลงเป็นเอกลักษณ์ข องตนเองซึ่งทำให้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์เพลงชั้นแนวหน้าผ ู้หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 20
ผลงานของบาร์ตอคที่น่าสนใจมีมากมายได้แก่ โอเปร่า Duke Bluebeard’s Castle, บัลเลท์ The Miraculous Mandarin เปียโนคอนแชร์โต 3 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 2 บท สตริงควอเตท 6 บทและดนตรีสำหรับเปียโนอีกมากมาย โดยเฉพาะชุด Mikrokosmos บทเพลงสำหรับฝึกเทคนิคการเล่นเปียโนกว่า150 บท
ชีวิตในบั้นปลายของบาร์ตอคมีลักษณะเช่นเดียวกับโมสาร์ท และ ชูเบิร์ท กล่าวคือ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นยากจน ในปี 1944 บาร์ตอคต้องเผชิญกับโรคร้ายคือมะเร็งโลหิตแพทย์ยับยั้งได้ก็แต่ เพียงให้ยาและถ่ายเลือด จนกระทั่งเดือนกันยายน ปี 1945 ขณะที่กำลังประพันธ์เพลงวิโอลาคอนแชร์โตให้ วิลเลียม พริมโรสอาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาลจนในที่สุดก็สิ้นใจเมื่อเวลาเ กือบเที่ยงวันของวันที่ 26 กันยายน 1945 หลังจากการสิ้นชีวิตของบาร์ตอคไม่นานนักชื่อเสียงของเขาก็ได้รั บการกล่าวขานในฐานะคีตกวีเอกของโลกผู้หนึ่งแห่งดนตรีสมัยใหม่
3. อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinky,1882-1971)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียโดยกำเนิด เกิดวันที่ 17 มิถุนายน1882 ที่เมือง โลโมโนซอบใกล้กับเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กแล้วย้ายมาอยู่ในประ เทศฝรั่งเศส จากนั้นย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนักร้องโอเปร่าประจำเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและหวังที ่จะได้เห็นลูกเรียนจบกฎหมายและทำงานราชการ ชีวิตในตอนเริ่มต้นของสตราวินสกีคล้ายกับไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ตรงที่ได้เรียนเปียโนตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่บิดามารดาไม่ได้หวังให้เอาดีทางดนตรี ดังที่กล่าวข้างต้น เขาได้เรียนการประพันธ์ดนตรีกับริมสกี้ คอร์ชาคอฟ (Rimsky – Korsakov)
งานของสตราวินสกีมีหลายสไตล์เช่น Neo – Classic คำว่า “Neo” แปลว่า “ใหม่” งานสไตล์ “คลาสสิกใหม่” กล่าวคือ คลาสสิกที่คงแบบแผนการประพันธ์เดิมแต่มีทำนอง เสียงประสาน ฯลฯ สมัยใหม่ นอกจากนี้ก็มีสไตล์ อิมเพรสชั่นนิส (Impressionis) ซึ่งมีหลักการสอดคล้องกับงานนามธรรม (Abstractionism) ทางจิตรกรรม
ผลงานแต่ละชิ้นของสตราวินสกีไม่มีซ้ำกันเลยแม้จะเป็นสไตล์เดียว กันก็ตาม เขาพยายามแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ในการประสานเสียง การใช้จังหวะลีลาแปลก ๆ และการเรียบเรียงแนวบรรเลงให้เกิดเสียงที่มีสีสรรอันประหลาดลึก ล้ำและเขาก็ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสมเหตุสมผลมีผู ้กล่าวในทำนองที่ว่าทฤษฎีที่ผิดของสตาวินสกีนั้นเป็นทฤษฎีที่ถู กต้อง เขาเองมีความเชื่อว่าเสียงดนตรีทุกเสียงมีความบริสุทธิ์และมีคว ามสำคัญในตัวมันเองเท่าเทียมกันหมดในทุกกรณี
สตาวินสกีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวงการดนตรีก่อนเกิดสงคราม โลกครั้งที่1ด้วยผลงานเพลงประกอบบัลเล่ท์ The Firebird, Petrushka, และ The Rite of Spring (Le sacre du Printemps)เป็นเพลงประกอบบัลเล่ย์เริ่มการประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1910 เขียนไปเรื่อย ๆ กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1913 จึงเขียนเสร็จให้นักดนตรีฝึกซ้อม แล้วนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1913 ณ The Theatre des Champs-Elysees กรุงปารีส โดยมีปิแอร์ มองตัว (Pierre Monteux) เป็นผู้ควบคุมการบรรเลง
The Rite of Spring สร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการล้มล้า งความคิดเก่า ๆ ลงอย่างสิ้นเชิง บทเพลงใช้หลายบันไดเสียงในเวลาเดียวกัน ใช้จังหวะที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา นับเป็นการแหกคอก แม้ผู้ฟังในปารีสเองยังทนไม่ได้ เล่ากันว่ามีจลาจลย่อย ๆ เลยทีเดียวที่มีการบรรเลงดนตรีแหกคอกครั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมได้แก่ Symphony in three movements, Ebony concerto (Rhapsody concerto), Ragtime, The Song of the nightingale,Piano – Rag – Music
สตาวินสกีประพันธ์ดนตรีจนกระทั่งวาระสุดท้าย เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ1971 ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 89 ปี นับว่าเป็นคีตกวี ที่อายุยืนมากคนหนึ่ง เข้าแจ้งความประสงค์ก่อนตายว่าอยากให้ฝังศพของเขาไว้ใกล้ ๆ หลุมศพของดีอากีเล็ฟ ที่สุสานซานมีเช็ล (San Michele) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ทางการอิตาลีให้มีการจัดขบวนแห่ศพไปตามคลองเมืองเวนิซมุ่งสู่สุ สานแห่งนั้น ซึ่งมีมุมหนึ่งเป็นสุสานสำหรับคนรัสเซียโดยเฉพาะ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 280)
4. อัลบาน เบิร์ก (Aban Berg, 1885 – 1935)
นักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียเป็นลูกศิษย์ของโชนเบิร์กและนำเอาหล ักการใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง (Atonality) มาพัฒนารูปแบบให้เป็นของตนเอง เพื่อต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าลักษณะบันไดเสียงแบบนี้สามารถนำม าใช้ในการประพันธ์เพลงให้มีลักษณะเป็นดนตรีที่มีความไพเราะสวยง ามและเต็มไปด้วยอารมณ์ในปัจจุบัน เบิร์กเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่าและไวโอ ลินคอนแชร์โต (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 180)
5. เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev, 1891-1953)
นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซียเกิดวันที่ 23 เมษายน 1891 ทางภาคใต้ของรัสเซีย เริ่มเรียนเปียโนจากมารดาตั้งแต่เด็ก ต่อจากนั้นไม่นานนักเขาก็สามารถประพันธ์ดนตรี ทั้งประเภทดนตรีบรรเลงและดนตรีสำหรับโอเปร่า (Opera) ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ
ประวัติการสร้างสรรค์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เยาว์วัย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เขาเติบโตมาเป็นคีตกวีเอกคนหนึ่งของโลกคน เราอาจเริ่มต้นดีได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่น้อยคนที่จะยืนหยัดได้ตลอดรอดฝั่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นความจริงที่ว่า “สิ่งที่พิสูจน์คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ตอนเริ่มแต่ทว่าอยู่ที ่ตอนจบ” โปรโกเฟียฟ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ทำให้ชนรุ่นหลังควรนำมาเป็นแบบอย่างทั ้งทางด้านความวิริยะอุตสาหะ ในการฝึกฝนดนตรี
ผลงานที่ประพันธ์ที่สำคัญที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดจำนวนหนึ่งถ ูกเขียนขึ้นซึ่งรวมทั้งซิมโฟนีหมายเลข 5 ประกอบด้วย นิทานดนตรี Peter and the Wolf บัลเลย์เรื่อง Romeo and Juliet และโอเปร่าเรื่อง War and Peace (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :293)
6. พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith, 1895-1963)
ผู้ประพันธ์ เพลงและนักไวโอลิน วิโอลาชาวเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนาซีมีอำนาจในยุโรป ฮินเดมิธ ประพันธ์เพลงเด่นในลักษณะของดนตรีสำหรับชีวิตประจำวันมากกว่าดน ตรีศิลปะ ที่เรียกว่า “Gebrauchsumsik” ผลงานสองชิ้นของเขายังคงเป็นผลงานดีเด่นที่บรรเลงในการแสดงคอนเ สิร์ต คือ Symphonic Mathis der Maler ดัดแปลงจากโอเปร่าของฮินเดมิธเอง และ Symphonic Metamorphose on Themes of Wehse แนวการประพันธ์ของฮินเดมิธได้ยึดหลักการใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) โดยไม่ละทิ้งระบบเสียงที่มีเสียงหลัก ซึ่งฮินเดมิธถือว่าเป็นหลักสำคัญต่างไปจากหลักการของโชนเบิร์ก (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :181)
7. จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin, 1898 – 1937)
ผู้ประพันธ์และนักเขียนเพลง ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1898 บิดาเป็นชาวยิวอพยพจากรัสเซีย เกิร์ชวินเริ่มอาชีพเป็นนักเขียนเพลง ในระหว่างปี 1920-1930 เพลงแรกของจอร์จ คือ Since I Found You ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน จอร์จชื่นชมผลงานของเออร์วิง เบอร์ลิน (Irving Berlin) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงป๊อปปูล่าสมัยนั้นเพลงที่มีชื่อเสียงเพ ลงแรกของเบอร์ลิน คือ Alexander’s Ragtime Band
ผลงานชิ้นเอกของเกิร์ชวินได้แก่ Rhapsody in Blue สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราหรือวงดนตรีประเภทแจ๊ส Cuban Overture สำหรับวงออร์เคสตรา Concerto in F สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา Piano Preludes, Porgy and Bess (Folk opera), An American in Paris งานชิ้นแรกสำหรับเวทีบรอดเวย์คือ La La Lucille นอกจากนี้แล้วผลงานเพลงของเกิร์ชวินถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อคีตกว ี ในงานดนตรีประเภทที่เรียกว่า “เซียเรียส มิวสิค” (Serious Music) และมีผลต่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) การที่ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการดนตรีอย่างกว้างขวางนี้แหละ ที่ทำให้เกิร์ชวิน และคีตกวีเอกอื่น ๆ เป็นผู้ที่ประวัติศาสตร์ดนตรีไม่อาจตัดชื่อของเขาทิ้งไปได้
เกิร์ชวินก็หนีไม่พ้นความตายเฉกเชนกับมนุษย์คนอื่น ๆ ทั่วไป เขาจากโลกไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1937 ด้วยโรคเนื้องอกในสมอง วิทยุประกาศข่าวการมรณกรรมของเขาว่า “บุรุษผู้กล่าวว่าในหัวของเขามีเสียงดนตรีมากเกินกว่าที่เขาจะส ามารถบันทึกลงบนกระดาษให้หมดได้ ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วในวันนี้ที่ฮอลลิวู้ด” (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 300)
8.อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, 1900-1991)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอเมริกันซึ่งวัตถุดิบในการแต่งเพลงนำมาจากสั งคมของอเมริกันเองไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทพื้นเมือง เพลงเต้นรำ ดนตรีแจ๊ส หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในสังคมอเมริกันผลงานเพลงของคอปแลนด์ประกอบด้วย ดนตรีบัลเลท์ Billy the Kid, Rode และAppalachian Spring เป็นเพลงที่นิยมบรรเลงโดยไม่มีบัลเลท์ประกอบในระยะต่อ ๆ มา เพลงสำหรับออร์เคสตรา El Salon Mexico และ A Lincoln Portrait มีการบรรยายประกอบวงออร์เคสตรานอกจากนี้ยังแต่งเพลงประกอบภาพยน ต์อีกจำนวนหนึ่ง
9. ดมิทรี ชอสตาโกวิช (Dmitri Shostakovich, 1906 – 1975)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย เกิดที่เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 1906 เข้าเรียนดนตรีในสถาบันดนตรีแห่ง เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะอายุ 13 ปี ได้เรียนเปียโนกับ Nikolaev
ในผลงานของชอสตาโกวิชในระยะแรกมักถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงว่ายากแ ละก้าวล้ำสมัยเกินกว่าความเข้าใจของผู้ฟังที่จะรับได้ ไม่มีลักษณะของชาตินิยมอยู่ในผลงานและเขาเองก็ต้องทนทุกข์กับคำ ติเตียนอย่างหนักชอสตาโกวิชยึดหลักในการแต่งเพลงที่ต้องการสนอง ความต้องการของตนเองโดยไม่ละทิ้งความต้องการของประเทศและประชาช นชาวรัสเซีย ผลงานดนตรีส่วนใหญ่ของเขาที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกและประวัติ ศาสตร์ของรัสเซียต้องยกย่องเขาให้เป็นคีตกวีคนสำคัญทางดนตรีตะว ันตกในศตวรรษที่ 20 นี้ นอกจากนี้แล้วทำนองเพลงที่สำคัญของเขาที่เขียนให้กับ
ภาพยนต์เรื่อง Vstrechnyi ได้ถูกนำมาใช้เป็นบทเพลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Hymn)
ผลงานการประพันธ์ของชอสตาโกวิชที่เป็นผลงานขนาดใหญ่ คือ ซิมโฟนี 15 บท บางบทมีสาระเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและความรักชาติ เช่น หมายเลข 7 Leningrad Symphony (ซึ่งบางส่วนเขียนขึ้นขณะที่เมืองเลนินกราดถูกล้อมในปี 1914 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่ออุทิศให้แด่ผู้ที่ต่อสู้ป้องกันเมืองเลนินกราด) นอกจากนี้ยังมีเพลงประเภทคอนแชร์โตสำหรับเครื่องดนตรี สตริงควอเตทดนตรีสำหรับเปียโน และโอเปร่าเรื่อง Lady Macbeth of Mt. Sensk District เขียนขึ้นจากงานวรรณกรรมของ Leskov ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Katerina Ismailova เป็นผลงานที่ทำให้ชอสตาโกวิชพบกับความยุ่งยากทางการเมือง มีคนที่จะพยายามใช้คำพูดอธิบายลักษณะดนตรีของชอสตาโกวิช ส่วนใหญ่มักใช้คำว่า “รุนแรง”” เด็ดขาด” ”ชัดเจน”และ “เปิดเผยตรงไปตรงมา”
ชอสตาโกวิช สิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม 1975 นอกกรุงมอสโคว์ เขาได้รับการนับถือว่าเป็นคีตกวีชาวรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน สมัยเดียวกัน
10. คาร์ลไฮนซ์ สตอคเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen1928 – )
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ซึ่งมีความเพ้อฝันและการสร้างสรรค์เกี่ยวกับดนตรีอย่างมากที่สุ ดผู้หนึ่งในศตวรรษที่ 20 ส่วนหนึ่งของผลงานการประพันธ์ใช้หลักการของโชนเบิร์ก คือ การใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) การใช้เครื่องดนตรีประเภทอิเลคโทรนิค และพัฒนาความคิดของผู้ฟังให้มีส่วนในการทำความเข้าใจกับดนตรีด้ วยตนเอง (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 183)
ผลงานของสตอคเฮาเซนประกอบด้วย
– Gruppen สำหรับวงออร์เคสตรา 3 กลุ่ม
– Zyklus สำหรับเครื่องประกอบจังหวะ
– Kontelte สำหรับเสียงอีเลคโทรนิค เปียโน และเครื่องประกอบจังหวะ Hymnen เป็นดนตรีอีเลคโทรนิคโดยนำแนวทำนองของเพลงชาติประเทศต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบและ Stimmung สำหรับเครื่องอีเลคโทรนิค 6 เครื่อง
– Gruppen สำหรับวงออร์เคสตรา 3 กลุ่ม
– Zyklus สำหรับเครื่องประกอบจังหวะ
– Kontelte สำหรับเสียงอีเลคโทรนิค เปียโน และเครื่องประกอบจังหวะ Hymnen เป็นดนตรีอีเลคโทรนิคโดยนำแนวทำนองของเพลงชาติประเทศต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบและ Stimmung สำหรับเครื่องอีเลคโทรนิค 6 เครื่อง
สตอกเฮาเซนเป็นผู้ประพันธ์เพลงคนแรกที่พิมพ์โน้ตเพลงอีเลคโทรนิ คในรูปแบบของ แผนภูมิ นอกจากเป็นผู้ประพันธ์แล้วเขายังเป็นครูสอนแนวคิดทางดนตรีที่เป ็นของตนเองด้วย
11. ฟิลิป กลาส (Philip Glass, 1937-)
ผู้ประพันธ์เพลง ชาวอเมริกันผู้ซึ่งในระยะแรกยึดหลักการแต่งแบบมาตรฐานที่ใช้กัน มาในสมัยต่าง ๆ หลังจากไปศึกษาเพิ่มเติมด้านดนตรีในปารีส แนวคิดของกลาสเริ่มเปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากรูปแบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามกลาสเลิกจริงจังกับการประพันธ์เพลงไปพักใหญ่ โดยเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ ช่างไม้ และช่างประปา จนกระทั่งไปพบกับ ผู้ประพันธ์เพลงแนวเดียวกันอีกครั้งหนึ่งกลาสจึงตั้งวงดนตรีที่ ประกอบด้วย ออร์แกนอีเลคโทรนิค 2 ตัว ซึ่งกลาสเล่นเอง 1 ตัว ผู้เล่นเครื่องเป่า 4 คน และนักร้องหญิง 1 คน ซึ่งมิได้ถือเป็นการร้องเพลงแต่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องดนตร ีชิ้นหนึ่ง วงดนตรีนี้เล่นเพลงที่กลาสประพันธ์เอง ซึ่งระยะแรกไม่มีผู้สนใจฟังสักเท่าไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ฟังเริ่มสนใจและติดตามผลงานของกลาสมากขึ้ น
หลักการที่กลาสใช้ในการประพันธ์เพลง คือ การบรรเลงแนวทำนองหนึ่งซ้ำ ๆ กัน และเริ่มบรรเลงแนวทำนองต่อไป ซึ่งพัฒนามาจากทำนองเดิมโดยเพิ่มตัวโน้ตเข้าไปทีละ 2 ตัว และทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนในที่สุดแนวทำนองเดิมจะกลายเป็นแนวทำนองใหม่ที่มีความยาวมา กถึงกับมีตัวโน้ต 210 ตัว จากดั้งเดิมมี 8 ตัว
ผลงานของกลาสมีมากมายหลายประเภททั้งโอเปร่า ดนตรีบรรเลงในแนวอีเลคโทรนิค เช่น Music Fifth, Music in Twelve Parts, Music with Changing Parts และโอเปร่า Einstein on the Beach และ Satyagrapha เป็นต้น
กลาสสนใจศึกษาดนตรีของชนชาติและเผ่าต่าง ๆ ทั่วโลกและนำมาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์เพลง ผลงานของกลาสเป็นอีกสมัยหนึ่งของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไปตามความค ิดสร้างสรรค์ของกลาสผู้ประพันธ์ที่ไม่หยุดอยู่กับที่ ผู้ซึ่งต้องการเสนอผลงานในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ฟังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าความหมายที่แท้จริงของดนต รีอยู่ที่ใดแน่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น