ประวัติไวโอลินฉบับสังเขป
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่กำเนิดเสียงในระดับเสียงสูง คือเสียงที่แหลมจนถึงต่ำปานกลาง เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในตระกูลไวโอลิน (Violin Family) เครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินเมื่อนำมาเล่นรวมกันจะเรียกว่า "วงเครื่องสาย" (String Ensemble) และเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส
ลำตัวของไวโอลินทำด้วยไม้ ประกอบด้วยแผ่นไม้เป็นจำนวนมาก ชิ้นที่อยู่ด้านหน้าทำด้วยไม้พรูซ ซึ่งไม้ชนิดนี้เป็นไม้เนื้ออ่อน มีลายละเอียดมาก แผ่นที่อยู่ด้านหลังใช้ไม้เมเปิล ไม้ชนิดนี้มีเนื้อแข็งกว่าไม้ชนิดแรก แผ่นไม้ทั้ง 2 ชิ้น ประสานเข้ากับส่วนที่เรียกว่า “ริบ” (Rib) ก็จะมีลักษณะเป็นลำตัวไวโอลิน ที่ส่วนปลายของไวโอลินทางด้ามถือม้วนเป็นก้นหอยเรียกว่า “ซโคล” (Scrooll) ที่แผ่นไม้ด้านหน้าจะมีรูปตัว (f) เป็นช่องให้อากาศภายในถ่ายเทได้ ไวโอลินมี 4 สาย ตั้งเสียงห่างกันในระดับคู่ 5 คือ G,D,A และ E สายต่ำสุดหรือสาย 4 เสียง G สาย 3 เสียง D สาย 2 เสียง A และสายเสียงสูงสุดหรือสาย 1 เสียง E สายทั้งหมดยาวเท่ากันแต่เสียงแตกต่างกัน เพราะมีขนาดและขึงต่างกัน
การเร่งสายให้ตึง ใช้บิดที่ลูกบิดซึ่งมีประจำทุกสาย ปกติจะเล่นโดยใช้คันชักสีที่สายให้สั่นสะเทือนแต่บางครั้งก็ใช้นิ้วดีด เพื่อให้เกิดเสียงสั่น ไวโอลินจะต้องวางบนไหล่ข้างซ้ายของผู้เล่น แล้วใช้คางหนีบไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ มือขวาของผู้เล่นใช้สีสายไวโอลินด้วยคันชัก โดยทั่วไปคันชักจะทำด้วยขนหางม้า คันชักเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ทำด้วยไม้ มีลักษณะคล้ายธนู ยาว 29 นิ้ว ตั้งสายให้ตึงและคลายให้หย่อนได้ สำหรับไวโอลินแบบมาตรฐานลำตัวจะมีความยาว 23.5 นิ้ว
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นท่วงทำนอง และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม มีเสียงแหลมสดใส อ่อนหวานชวนให้เคลิบเคลิ้ม ถ้าต้องการเล่นให้คึกคัก สนุกสนานเร้าร้อนก็ทำได้ จะเล่นให้เศร้าสร้อยสะเทือนใจก็เล่นได้ หรือจะเล่นพลิกแพลงด้วยเทคนิคต่างๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ความสามารถของผู้เล่น
ต้นกำเนิดของไวโอลิน
มีการพบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายพบในหลายๆ วัฒนธรรมและในช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งย่อมมีส่วนในพัฒนาการของเครื่องดนตรีที่เรียกว่าไวโอลินอยู่บ้างไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม เครื่องดนตรีเหล่านี้ เช่น Kithara ของกรีก ซึ่งอยู่ในราวปีที่ 7 ก่อนคริสตกาล หรือซอเอ้อหู (Erhu) ของจีน ซึ่งมีอายุอยู่ในราวศตวรรษที่ 8 ในขณะที่วิวัฒนาการที่สำคัญของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้คันชักไม่มีความเกี่ยวของโดยตรงกับ ไวโอลิน บทวามนี้จะแสดงถึงบรรพบุรุษที่ใกล้ชิดของไวโอลิน มีวิวัฒนาการจนมีรูปร่างดังเช่นในปัจจุบันได้อย่างไร และมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกอย่างไร
เครื่องดนตรี Kithara ของกรีก | ซอเอ้อหู (Erhu) ของจีน |
Rabab
ต้นกำเนิดของไวโอลินนั้นไม่ปรากฏชัดและยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นตรงกันว่า เครื่องดนตรีที่เรารู้จักกันในปัจจุบันในดนตรีตะวันตก เช่น ไวโอลิน มีที่มาจากเครื่องดนตรี Rabab ของอาหรับ Rabab มีสาย 2 สายที่ทำมาจากเส้นไหม ยึดติดกับหมุด (Endpin) และร้อยเข้ากับลูกบิด (Peg) เพื่อตั้งเสียงให้ได้คู่ 5
Rabab ไม่มีเฟรท ลำตัวมีรูปทรงเหมือนผลลูกแพร์และมีคอยาว ทำจากไม้จำพวกน้ำเต้า เวลาเล่นจะวางไว้บนตัก และเล่นโดยใช้คันชัก โดยใช้ยางสนฝนเข้ากับสายให้เกิดความฝืด แต่น่าเสียดายที่ไม่มีเอกสารภาพเขียนหรือเครื่องดนตรีดังกล่าวที่หลงเหลือมา จนถึงปัจจุบัน แต่มีกล่าวไว้ในเอกสารโบราณในช่วงปลายศตวรรษที่ 9
Rabab
Rebec
ผลจากสงครามครูเสดส์ (Crusades) ในยุโรป เครื่องดนตรี Rebec ซึ่งมีที่มาจาก Rabab ปรากฏโฉมครั้งแรกในสเปนในช่วงกลางศตวรรษที่ 11
Rebec แตกต่างจาก Rabab เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สายของ Rebec มี 3 สายแทนที่ 2 สาย ลำตัวนิยมทำมาจากไม้แทนผลน้ำเต้า เวลาเล่นมักจะวางไว้บนไหล่แทนการเล่นโดยวางไว้บนตัก
Rebec
Vielle
Vielle ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 ที่ประเทศฝรั่งเศส และแตกต่างจาก Rebec อย่างเห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันมี 5 สาย ลำตัวมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่า และมีรูปร่างใกล้เคียงกับไวโอลินสมัยใหม่มากกว่า ซึ่งโครงไม้ด้านข้าง (Rib) จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเล่นด้วยคันชัก และไม่สำคัญว่าหลังจากนั้น ชื่อ Vielle จะใช้เพื่อเรียกเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่ต่างชนิดกันคือ Vielle à rue (Vielle à roue) ซึ่งในปัจจุบันจะรู้จักกันในชื่อ Hurdy Gurdy มากกว่า
Vielle
Hurdy-Gurdy | การเล่น Hurdy-Gurdy |
Viola di Braccio (Viola da Braccio, Lira di Braccio, Lira da Braccio)
Viola di Braccio (ซอ 'วิโอล' ของแขน) ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศอิตาลี มีขนาดและรูปทรงใกล้เคียงกับ Vielle แต่ลดสายจาก 5 ลงเหลือ 3 เช่นเดียวกับ Rebec และในช่วงแรกนั้น ช่องเสียงรูปตัว C (C-hole) ของ Rebec และ Vielle ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นช่องเสียงที่คล้ายคลึงกับช่องเสียงรูปตัว F (F-hole) ของไวโอลินสมัยใหม่
Viola da braccio ปี 1679 ฝีมือของ Jakob Stainer
Violin
จากหลักฐานต่างๆ ล้วนกล่าวว่า ต้นกำเนิดของไวโอลินอยู่ที่ประเทศอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใครเป็นผู้ที่ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นเป็นคนแรก และเรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันต่อไป แต่การศึกษาและค้นคว้าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วจะยกความดีให้กับ Andrea Amati แห่งเครโมนา (ราวๆ ปี 1511-1577) ว่าเป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่โลกรู้จัก จากเอกสารที่กล่าวถึงไวโอลิน 2 คันที่เขาสร้างขึ้นในระหว่างปี 1542 และ 1546 แต่เครื่องดนตรีเหล่านี้มีสายแค่ 3 สายเช่นเดียวกับ ไวโอลิน 4 สายตัวแรกก็ทำโดย Andrea Amati ในปี 1555 ส่วนไวโอลินที่เก่าแก่ที่สุดที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ ไวโอลิน ปี 1560 ทำโดย Andrea Amati เช่นกัน
แต่ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งกลับแย้งความเห็นที่ว่า Andrea Amati เป็นช่างทำไวโอลินคนแรก แต่ยกความดีนี้ให้กับ Gasparo di Bertolotti da Salo (Gasparo da Salo) (ราวๆ ปี 1540-1609) แห่งเบรสเชีย เนื่องจากอาจารย์ของ Andrea Amati เป็นช่างทำเครื่องดนตรีพิณโบราณ (Lute) เอกสารที่มีอยู่ก็กล่าวถึง Andrea Amati ว่าเป็นช่างทำพิณโบราณ และมีไวโอลินของเขาหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่กล่าวถึงไวโอลินนับตั้งแต่มันเป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นใหม่นั้น คำว่า ”ช่างทำไวโอลิน” หรือ "Violin maker" ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก ยิ่งกว่านั้น มีเอกสารที่กล่าวถึงการขายไวโอลินจำนวน 24 ตัวของ Andrea Amati ให้กับกษัตริย์ Charles IX แห่งฝรั่งเศสในปี 1560 และมีไวโอลินเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่หลงเหลืออยู่ให้พิสูจน์ว่า Andrea Amati เป็นผู้ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้น และมีผลงานของเขาเพียง 14 ชิ้นเท่านั้นที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ไวโอลินปี 1560 ที่หลงเหลืออยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่ง Andrea Amati ทำเพื่อถวายให้กับกษัตริย์ Charles IX แห่งฝรั่งเศส
Cremona
ตระกูล Amati
Andrea Amati (ราวๆ ปี 1511-1577)
แต่เดิมเขาเป็นช่างทำพิณโบราณ (Lute) ซอวิโอล (Viol) และ Rebec มาก่อน และเริ่มก่อตั้งสำนักทำไวโอลินแห่งเครโมนา เขาได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นเป็นคนแรก
Antonius (Antonio) (ราวๆ ปี 1540-1607) และ Hieronymus (Girolamo) Amati (ราวๆ ปี 1561-1630)
ทั้งคู่เป็นบุตรชายของ Andrea Amati และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “พี่น้อง Amati” หรือ "The Brothers Amati" (จริงๆ แล้วพวกเขาเป็นพี่น้องต่างมารดากัน) พวกเขาร่วมกันทำเครื่องดนตรีด้วยกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะแยกกันทำ
Nicolo (Nicola, Nicolaus) Amati (1596-1684)
บุตรชายของ Hieronymus Amati เครื่องดนตรีของเขาได้รับการยอมรับว่าเหนือกว่าผลงานของช่างคนอื่นๆ ในตระกูล
Girolamo Amati II (1649-1740) บุตรชายของ Nicolo Amati
ตระกูล Guarneri
Andrea Guarneri (1623-1698)
ลูกศิษย์ของ Nicolo Amati
Pietro (Peter, Petrus) Giovanni Guarneri (1655-1720)
บุตรชายคนโตของ Andrea Guarneri เขาเกิดที่เครโมนาแต่ไปทำงานที่เมือง Mantua
Giuseppe (Joseph) Giovanni Battista Guarneri (1666-ราวๆ ปี1739)
บุตรชายคนที่ 3 ของ Andrea Guarneri
Giuseppe Guarneri (Joseph Guarnarius del Gesu) (1698-1744)
หลายชายคนโตของ Andrea Guarneri บุตรชายของ Giuseppe Giovanni Battista Guarneri และน้องชายคนเล็กของ Pietro Guarneri of Venice ถ้าไม่นับงานของ Stradivari แล้ว ผลงานของ Guarneri ได้รับการยอมรับว่าดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักกันในนาม del Gesu เนื่องจากเขาจะเติมตัวอักษร IHS ลงไปในฉลากผลงานของเขาในช่วงราวๆ ปี 1930 คำว่า เป็นชื่อย่อที่หมายถึงพระนามของพระเยซูคริสต์ "del Gesu"
แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของตระกูล Guarneri
ตระกูล Ruggieri
Francesco Ruggieri ( Rugier, Ruggeri, Ruggerius ฯลฯ) (ราวๆ ปี 1630-1698)
บางทีเขาอาจจะเป็นลูกศิษย์อีกคนของ Nicolo Amati ก็เป็นได้ แต่ยังมีข้อสงสัยบางอย่างในความจริงข้อนี้อยู่ ผลงานที่ดีเยี่ยมที่สุดของเขากลับไม่ใช่การทำไวโอลิน แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการพัฒนาเชลโลให้มีขนาดเล็กลงจนเป็นมาตรฐานอย่างที่ใช้ กันอยู่ในปัจจุบัน
Giovanni Battista Ruggieri ( Rugier, Ruggeri, Ruggerius ฯลฯ) (1653-1711)
บุตรชายคนโตของ Francesco Ruggieri
Giacinto Ruggieri ( Rugier, Ruggeri, Ruggerius ฯลฯ) (1661-1697)
บุตรชายคนที่ 2 ของ Francesco Ruggieri
Vincenzo Ruggieri ( Rugier, Ruggeri, Ruggerius ฯลฯ) (1663-1719)
บุตรชายคนที่ 3 ของ Francesco Ruggieri
ตระกูล Stradivari
Antonio Stradivari (ราวๆ ปี 1644-1737)
Antonio Stradivari ได้รับการยอมรับว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Nicolo Amati อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากไวโอลินแล้ว ยังได้สร้างสรรค์เครื่องดนตรีมากกว่า 1,000 ชิ้น เช่น วิโอล่า เชลโล แมนโดลิน กีตาร์ และฮาร์พ Stradivari เป็นหนึ่งในช่างทำไวโอลินที่ถูกช่างในยุคหลังๆ ลอกเลียนแบบผลงานมากที่สุด ผลงานของช่างเหล่านี้ถูกผลิตออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนหลายล้านตัว ผลงานของเขาแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรกที่มีอิทธิพลของ Nicolo Amati ผู้เป็นอาจารย์ ยุคกลางที่เขาทดลองไวโอลินที่เขาออกแบบเอง และยุคสุดท้ายที่เขาสร้างสรรค์รูปทรงของไวโอลินจนสมบูรณ์แบบและยังคงใช้กัน อยู่จวบจนทุกวันนี้
Francesco Stradivari (1671-1743)
บุตรชายคนโตของ Stradivari เขาทำงานร่วมกับผู้เป็นบิดาตลอดชีวิตของเขา แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยงานเท่านั้น ปัจจุบันมีไวโอลินที่เลียนแบบที่ติดฉลากชื่อของเขาหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ ชิ้นเท่านั้น
Omobono Stradivari (1679-1742)
บุตรชายคนที่ 2 ของ Antonio Stradivari แม้ว่า Omobono จะสร้างไวโอลินไว้เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำไวโอลิน ผลงานของเขายังเป็นรองฝีมือของพี่ชายและผู้เป็นพ่อ
Brescia
Gasparo di Bertolotti da Salo (Gasparo da Salo) (ราวๆ ปี 1540-1609)
ผู้ก่อตั้งศิลปะการทำไวโอลินสกุลช่างเบรสเชีย (Brescia) แต่เดิมนั้นในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นเขาได้รับเกียรติว่าเป็นช่างทำไวโอลินคนแรก แต่ต่อมาความเชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป นอกจากไวโอลินแล้ว da Salo ยังทำซอวิโอล (Viol) Cittern เชลโล และดับเบิ้ลเบสด้วย
Giovanni Paolo Maggini (ราวๆ ปี1580-ราวๆ ปี1631)
ลูกศิษย์ของ Gasparo di Bertolotti da Salo ภายหลังการเสียชีวิตของ da Salo เขาได้รับการยกย่องในฐานะช่างทำไวโอลินชั้นยอดแห่งเบรสชาแทนที่ของ da Salo
G.B. Rogeri (GB, Giovanni Battista, Gianbattista) (ราวๆ ปี1670-ราวๆ ปี1705)
Rogeri เรียนรู้ศิลปะการทำไวโอลินจากเมืองเครโมนา เขาเป็นลูกศิษย์ของ Nicolo Amati แต่มาทำงานที่เบรสชา
แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของช่างทำไวโอลินเครโมนา
แผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาวเครโมนาและ เบรสชา เส้นสีเเดงที่ตัดผ่านแผนผังคือช่วงที่โรคระบาดและทุพภิกขภัยเข้าคุกคามเมือง เครโมนาและเบรสชาในช่วงศตวรรษที่ 1630 ภัยภิบัติในครั้งนี้ได้คร่าชีวิตช่างทำไวโอลินในสกุลช่างเบรสชาลงทั้งหมด พร้อมๆ กับการเสียชีวิตของ Gio และ Paolo Maginni ในปี 1632 ในขณะที่สกุลช่างเครโมนาก็เเขวนอยู่บนเส้นด้ายเพราะเหลือช่างฝีมืออยู่เพียง คนเดียวเท่านั้นคือ Nicolo Amati ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์ของ Antonio Stradivari และ Andreas Guarneri ลองคิดดูว่าถ้า Nicolo Amati ตายไปอีกคนก็คงไม่มีทั้ง Stradivari และ Guarneri
Milan
Giovanni Grancino (1637-1709)
บุตรชายของ Andrea Grancino ซึ่งอาจจะเป็นช่างทำไวโอลินด้วยเช่นกัน และอาจจะทำงานร่วมกับ Francesco พี่ชายของเขา
Paolo Grancino (1655-1692)
เชื่อกันว่าเขาเป็นลูกศิษย์ของ Nicolo Amati ที่เครโมนา ต่อมาได้ย้ายไปทำงานที่มิลาน และได้ก่อตั้งสำนักช่างทำไวโอลินสกุลช่างมิลานขึ้น แต่จากหลักฐานที่มีอยู่กลับไม่พบหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวถึงชีวประวัติหรือผล งานของเขามากนัก
Giovanni Battista Guadagnini (1711-1786)
เขาเกิดและทำงานที่เมืองปิอาเซนซ่า (Piacenza) แต่ไปสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเยี่ยมที่สุดที่เมืองตูริน นอกจากนั้นเขายังทำงานที่ เครโมนา ปาร์มา และมิลานด้วย
Carlo Ferdinando Landolfi (ราวๆ ปี1710-1784)
สันนิษฐานกันว่าเขาอาจจะเป็นลูกศิษย์ของ Giovanni Battista Guadagnini ก็เป็นได้
Carlo Giuseppe Testore (ราวๆ ปี 1665-1716)
ลูกศิษย์ของ Giovanni Grancino ผลงานของเขาถือว่าออกแบบได้ค่อนข้างหยาบ แต่ยังมีน้ำเสียงที่ยอดเยี่ยมมาก
Carlo Antonio Testore (1693-ราวๆ ปี1765)
บุตรชายของ Carlo Giuseppe Testore
Venice
Matteo Gofriller (Goffriller) (1659-1742)
ช่างทำไวโอลินคนสำคัญคนแรกของเวนิส
Pietro (Peter) Guarneri (1695-1762)
บุตรชายของ Giuseppe Giovanni Battista Guarneri แห่งเครโมนา และเป็นพี่ชายของ Bartolomeo Giuseppe Guarneri เขาทำงานร่วมกับ Pietro Guarneri ลุงของเขาที่เมือง MAntua แต่ต่อมาได้ย้ายไปยังเมืองเวนิส เครื่องดนตรีของเขาถือว่าฝีมือยังเป็นรองผู้เป็นลุง
Santo (Sanctus) Seraphin (Serafin, Serafino) (1699-ราวๆ ปี 1758)
เขาเป็นช่างทำไวโอลินที่ประสบผลสำเร็จทางการเงินมากที่สุดคนหนึ่งในบรรดา ช่างที่ทำงานที่เวนิสในขณะนั้น เขาสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างสวยงาม มีโทนเสียงที่ดีเยี่ยมมาก
Carlo Annibale Tononi (1675-1730)
เขาทำงานที่โบโลญญ่าจวบจนกระทั่ง Giovanni บิดาของเขาเสียชีวิตลง หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปยังเวนิส
Absam
Jacob (Jakob) Stainer (ราวๆ ปี1621-1683)
เขาเป็นช่างทำไวโอลินผู้ยิ่งใหญ่คนแรกที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียน ในปี 1658 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ทำงานในราชสำนักของ Archduke Ferdinand Charles แห่งเมือง Innsbruck ประเทศออสเตรีย แต่ภายหลังเขาได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตจากโบสถ์ Catholic Church ในข้อหามีงานเขียนของนิกาย Lutheran ไว้ในครอบครอง เขาเสียชีวิตในสภาพวิกลจริตอย่างน่าอนาถา
Mittenwald
Matthias (Mattias, Mathias) Klotz (Kloz) (1653-1743)
ช่างทำไวโอลินชาวเยอรมัน เขาเป็นลูกศิษย์ของทั้ง Nicolo Amati และ Jacob Stainer
Violin in Orchestra
ในช่วงแรกๆ นั้นไวโอลินยังเป็นเครื่องดนตรีของชนชั้นต่ำและยังไม่มีการนำไปใช้ในงาน ดนตรีต่างๆ แต่ไวโอลินได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวงออร์เคสตร้าในช่วงศตวรรษที่ 17 นักประพันธ์อย่าง Claudio Monteverdi เริ่มใช้ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีหลักในงานประพันธ์ของเขา
Tourte Bow
ในราวๆ ปี 1786 Francoise Xavier Tourte (1747-1835) ได้สร้างสรรค์คันชักไวโอลินแบบใหม่ขึ้น เขาได้เปลี่ยนความโค้งของด้ามคันชักให้เว้าเข้า (Convex) นอกจากนั้นเขายังได้กำหนดความยาว น้ำหนัก และสมดุลของคันชักให้เป็นมาตรฐาน และเขายังได้นำไม้ Pernambuco (Pau-Brazil) มาเป็นวัสดุที่ใช้ทำด้ามคันชักอีกด้วย
Greatest Violinist
Yehudi Menuhin (1916-1999) เป็นทั้งนักไวโอลิน วาทยกร และ “เด็กมหัศจรรย์” ท่านออกแสดงที่ Carnegie Hall กรุงนิวยอร์ค เมื่ออายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น นอกจากนั้น Yehudi Menuhin ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นนักไวโอลินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลอีกด้วย
Most Expensive Violin on Record
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1998 ไวโอลินฝีมือของ Antonio Stradivari ที่รู้จักกันในชื่อ ' Kreutzer ' ถูกประมูลขายโดยสถาบัน Christie ด้วยราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง £947,500 ปอนด์ ($1,786,368.49 เหรียญ)
ตามมาด้วยการประมูลเมื่อเดือนเมษายนปี 2005 ไวโอลิน ' Lady Tennant ' ปี 1699 ผลงานของ Stradivari ถูกประมูลไปด้วยราคาที่ลบสถิติเดิมคือ 2,032,000 เหรียญ
และล่าสุดคือเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2006 ทางสถาบัน Christie ได้ประมูลขายไวโอลิน ' Hammer ' ปี 1707 ผลงานของ Stradivari อีกเช่นกัน ถูกประมูลขายไปด้วยราคาที่เป็นสถิติใหม่คือ ที่ 3,544,000 เหรียญ
Hammer ' Stradivari ปี 1707 | Lady Tennant '' Stradivari ปี 1699 |
Kreutzer ' ปี 1727 ไวโอลินคู่ใจของ Maxim Vengerov
Mass Production of Violins
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ความต้องการไวโอลินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ทำให้มันกลายเป็นสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม ไวโอลินหลายแสนตัวที่ติดฉลากชื่อของช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาว อิตาเลียน เช่น Amati, Stradivari, Guarneri ฯลฯ ได้ผลิตขึ้นที่ระเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ในยุโรป ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้ไม่ได้ตั้งใจทำขึ้นเพื่อปลอมแปลง แต่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่หลงใหลในไวโอลินของยอดฝีมือเหล่านี้
ปัจจุบันงานเลียนแบบเหล่านี้กลับปรากฏอยู่ตามห้องใต้หลังคาบ้านต่างๆ ทั่วโลก ช่วยสร้างความตื่นเต้นเล็กๆ ให้กับเจ้าของด้วยความฝันถึงความร่ำรวย ในขณะที่ความจริงกลับเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมาพบไวโอลิน Stradivari เอาป่านนี้ และมูลค่าของไวโอลินที่ถูกค้นพบเหล่านี้คงไม่ทำให้เจ้าของรู้สึกดีใจได้มากนัก คงมีแต่คำปลอบใจตัวเองเท่านั้น ข่าวการพบไวโอลิน Stradivari คงเป็นได้แค่เรื่องเศร้าและเรื่องน่าขายหน้ามากกว่าเรื่องน่ายินดี ในที่สุดก็ต้องขายออกไปในราคาของเลียนแบบเท่านั้น ทางที่ดีคือนำไวโอลินไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ความจริงเพื่อให้เกิดความสบายใจ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น