วิโอล่า (Viola)

วิโอล่า (Viola) ซินเดอร์เรลล่าแห่งเครื่องสาย
        เรื่องราวของเครื่องดนตรีชนิดนี้ช่างคล้ายคลึงกับเทพนิยายเรื่องซินเดอเรลล่าเมื่อเทียบกับเครื่องสายในตระกูลเดียวกัน "Viola" ในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงซอวิโอล (Viol)
        ในช่วงศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 มักจะพบเครื่องดนตรีที่ชื่อ da gamba หรือ da braccio ซึ่งแสดงถึงเครื่องสายที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน วิโอล่าก็เช่นเดียวกับไวโอลิน ปรากฎอยู่ในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร Saronno Cathedral ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1535 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 วิโอล่าได้พัฒนาตัวเองเป็นเครื่องดนตรีเสียง Alto หรือ Tenor ในตระกูลไวโอลิน

โครงสร้างของวิโอล่า
         วิโอล่าจำนวนมากจากยุค Renaissance ตอนปลายและต้นยุค Baroque ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างขึ้นแตกต่างกันหลายขนาด รวมถึงวิโอล่าขนาดเล็กเพื่อให้มีโทนเสียงที่สูงขึ้นเพื่อเล่นในวง Ensemble และวิโอล่าขนาดใหญ่สำหรับเล่นโทนเสียงต่ำ
         วิโอล่าจะตั้งสายต่ำกว่าไวโอลินคือ C-G-D-A ซึ่งเป็นคู่ 5 เช่นเดียวกัน ปัจจุบันวิโอล่าก็ยังคงมีขนาดที่หลากหลายมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีใน ตระกูลเดียวกัน เพื่อให้การสะท้อนเสียงสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับไวโอลิน วิโอล่าจำเป็นต้องลดขนาดความยาวลงอีกครั้งหนึ่ง จากภาพเขียนในอดีตจะเห็นว่ามันไม่สามารถวางเล่นบนไหล่ได้ ผลของการประนีประนอมดังกล่าว ทำให้วิโอล่ามีขนาดความยาวอยู่ที่ 38 ถึง 45 ซม. (15-18 นิ้ว) ทำให้บทบาทของวิโอล่าในฐานะที่เป็นเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ช้ากว่าไวโอลินและเชลโลซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน


บทบาทของวิโอล่า
        เเม้ว่าจะมีวิโอล่าจำนวนมากที่ตกทอดมาจากศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของวิโอล่าในฐานะเครื่องดนตรีที่เป็นส่วนเติมเต็ม ของท่วงทำนองเท่านั้น ความถ่อมตัวดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีชนิดนี้ วงเครื่องสาย 5 ชิ้นและวิโอล่าอีก 2 คัน ถือเป็นสิ่งแปลกในดนตรีฝรั่งเศสยุคศตวรรษที่ 17 เช่น ผลงานของ Jean-Baptisete Lully หนึ่งในคีตกวีที่หลงใหลในน้ำเสียงของวิโอล่า เเม้ว่าจริงๆ แล้วน้ำเสียงของวิโอล่าไม่สามารถเทียบความสดใสกับไวโอลินได้เลย รวมทั้งไม่สามารถเทียบกับประโยชน์ของเชลโลในการเล่นทำนองเสียงเบสได้เช่น เดียวกัน นักวิโอล่าซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว แม้แต่นักวิโอล่าที่เชี่ยวชาญก็ถูกมองว่ามีทักษะที่ไม่อาจเทียบกับนัก ไวโอลินได้เลย เป็นเพียงนักดนตรีมือใหม่ที่พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ในสำนวนสมัยใหม่ซึ่งเปรียบเทียบวิโอล่าไว้ว่า “นักเป่าฮอร์นที่ไม่มีฟัน”
        นอกจากนั้นภาษาดนตรีชั้นสูงในยุคบาโร้ค ไม่มีที่ว่างสำหรับวิโอล่าในวงโซนาต้าสำหรับเครื่องดนตรี 3 ชิ้น (Trio Sonata) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีเสียงสูง 2 ชิ้นและเครื่องดนตรีเดินทำนอง (Continuo) อีก 1 ชิ้น หรือในส่วนของงานประพันธ์ออร์เคสตร้า Concerto grosso นิยมใช้กลุ่ม Concertino ที่ประกอบด้วยไวโอลิน 2 คันและเชลโลมากกว่า มีเพียงช่วงปลายๆ ยุคเท่านั้นที่พบว่าคีตกวี เช่น Francesco Geminiani ได้ขยายขอบเขตงานประพันธ์ Concertino โดยเปิดโอกาสให้วิโอล่าได้เเสดงเดี่ยว
         งานประพันธ์ออร์เคสตร้าในช่วงปลายยุคบาโร้คและตอนต้นของยุคคลาสสิค บทบาทของวิโอล่าไม่ได้ถูกละเลยเสียทีเดียว แต่มักจะถูกใช้คู่กับไวโอลินสองในโทนเสียงเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้เล่นแนวเสียงเบสที่สูงกว่า 1 ขั้นคู่เสียงมากกว่า และคงใช้อยู่จนถึงตอนต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งการเพิ่มวิโอล่าเข้าไปในงานประพันธ์ดนตรีวงออร์เคสตร้า (Tutti) ได้กลายเป็นเรื่องปกติมากๆ ยิ่งกว่านั้น คีตกวีไม่ต้องการที่จะให้ความสำคัญใดๆ กับบทบาทของวิโอล่ามากนัก เช่น ในช่วงท้ายของซิมโฟนีบทที่ 9 (ค.ศ. 1824) ในกระบวนช้า พบว่าบีโธเฟนได้ให้วิโอล่าได้เล่นคู่กับไวโอลินแนวที่สองเพื่อให้มั่นใจว่า จะได้จังหวะที่ช้าและสง่างามตามที่ต้องการเท่านั้น
         ในการซ้อมครั้งแรกของบทเพลงซิมโฟนี่หมายเลข 6 ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ ‘ Pathetique ’ (ค.ศ. 1893) ของไชคอฟสกี้ ลองจินตนาการถึงความประหลาดใจหรือจะเรียกว่าช็อคก็ได้ เมื่อบรรดานักวิโอล่พบว่าพวกเขาต้องเป็นผู้ที่เล่นทำนองหลักในกระบวนแรกด้วย ตัวของพวกเขาเอง

 
เครื่องดนตรี Viola da Gamba เครื่องดนตรี Viola da braccio

ยุคทองของวิโอล่า
         อิสระภาพที่เเท้จริงของวิโอล่าเกิดขึ้นในงาน ประพันธ์แชมเบอร์มิวสิค และที่สำคัญที่สุดคือการถือกำเนิดของวงเครื่องสาย 4 ชิ้น (String quartet) เเม้ว่าศักยภาพของการเล่นจะไม่นุ่มนวลเท่าไวโอลินก็ตาม ในงานควอเต็ทหลายๆ ชิ้น เช่น งานยุคแรกๆ ของไฮเดิ้น ซึ่งเป็นคีตกวีที่มีบทบาทมากกว่าคีตกวีคนอื่นๆ ในยุคนั้น เเละดูเหมือนว่าวิโอล่ายังคงตามหลังเชลโลในเรื่องขั้นคู่เสียงและแม้แต่ใน รื่องน้ำเสียง มีเพียงบทเพลงสำหรับวงสติงควอเต็ทโอปุส 33 ปี 1781 ที่วิโอล่ามีบทบาททัดเทียมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ เท่านั้นที่ถือว่าประสบความสำเร็จ
        ก้าวต่อไปของวิโอล่าคือบทบาทในงาน ประพันธ์เพลงสำหรับวงเครื่องสาย 5 ชิ้น (String Quintet) ในงานของโมสาร์ท ซึ่งใช้วิโอล่า 2 คัน นักวิโอล่าที่ 1 บรรเลงควบคู่ไปกับนักไวโอลิน แต่ในงานประพันธ์ของโมสาร์ทนั้น วิโอล่ามักจะได้รับบทบาท Concertante เช่นในกระบวนช้าของเพลง C major Quintet (K515) อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในงานคีตนิพนธ์ของโมสาร์ทเองก็พบว่ามีผลงานบางชิ้นที่ดัดเเปลงจากงาน ควินเต็ทรวมถึงเปียโนควอเต็ทของเขาด้วย โดยเพิ่มวิโอล่าเข้าไปในบทเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว เช่น ในคีตนิพนธ์สำหรับเครื่องดนตรี 3 ชิ้นคือ เปียโน ไวโอลิน และเชลโล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงสำหรับเขาพอสมควร เขายังถูกประชดชันอีกว่า บทเพลงทริโอสำหรับเครื่องดนตรีสามชิ้นซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ Kegelstadt (‘ Skittle-ground ’) สำหรับคลาริเน็ต วิโอล่า เเละเปียโน (K498) ประพันธ์ขึ้นในขณะที่กำลังเล่นโบว์ลิ่ง
         เพื่อให้การเล่นในวงดนตรีเเชมเบอร์มิวสิค นักวิโอล่าจำเป็นต้องมีเทคนิคที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ในวง การมีบทบาทที่เทียบเท่ากับไวโอลินหรือเชลโลนั้น วิโอล่าจำเป็นต้องมีเทคนิคที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่วิโอล่ามีบทบาทมากในงานประพันธ์ต่างๆ เช่น ในงานประพันธ์ Octet ที่เต็มไปด้วยความสดใสร่าเริงของ Mendelssohn หรืองาน Sextet ที่ประกอบด้วยเครื่องสาย 2 ชิ้นหลายๆ บทของ Brahms แตกต่างจากในยุคแรกๆ ที่วิโอล่าถูกมองว่าขาดความสดใสของน้ำเสียง
         คีตกวีในยุคโรแมนติ คเริ่มมองเห็นคุณค่าน้ำเสียงที่ละเอียดอ่อนของวิโอล่ามากขึ้นด้วยน้ำเสียง ที่ทุ้มหนักเเน่นไม่ใช่น้ำเสียงที่หม่นมัวอีกต่อไป มันได้เปิดโลกแห่งศักยภาพใหม่ๆ ให้กับนักดนตรีวงออร์เคสตร้า ในขณะที่บทเพลงสำหรับเดี่ยววิโอล่ายังคงมีไม่มากนัก ไม่มีคอนแชร์โตบทสำคัญๆ และมีโซนาต้าที่สำคัญเพียงไม่กี่บทเท่านั้น เเม้จะมีผลงานของ Mendelsshon, Glinka และ โซนาต้าสำหรับคลาริเนต 2 บทผลงานของ Brahms ที่เรียบเรียงสำหรับการเล่นด้วยวิโอล่า รวมถึงบทเพลง Marchenbilder ของ Schumann ที่จะลืมไม่ได้เช่นกัน ในยุคนี้ยังไม่มีครูสอนวิโอล่าที่สำคัญๆ ทำให้เทคนิคของวิโอล่าแตกต่างจากไวโอลินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
         การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวิโอล่าเกิดขึ้นในศตวรรษนี้เอง โดยเฉพาะความพยายามของนักวิโอล่ายุคบุกเบิก เช่น Lionel Tetris และ William Primrose รวมถึงคีตกวีซึ่งเป็นนักวิโอล่าอย่าง Paul Hindemith วิโอล่าจึงไม่เป็นเพียงไวโอลินชั้น 2 อีกต่อไป แต่มีส่วนร่วมและมีบทบาทที่เสมอภาคทั้งในวงดนตรีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผลที่ได้ทำให้มีเพลงบรรเลงเดี่ยวที่มากขึ้นกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ และเติบโตขึ้นนับเเต่นั้นเป็นต้นมา ความนิยมของวิโอล่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องดนตรีซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของ Bach, Mozart และ Schubert วิโอล่าได้พบตำแหน่งที่เหมาะสมของตัวเองบนเวทีคอนเสิร์ทแล้ว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น